วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Mobile Commerce

การดำเนินธุรกิจย่อมมีการเปลี่ยนแปลงสู่รูปแบบใหม่ตลอดเวลา เช่นเดียวกันกับพาณิชย กรรมออนไลน์ E-Commerce ที่มีการนำเอาเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือคอมพิวเตอร์พกพา (Personal Digital Assistant : PDA) มาประยุกต์ใช้เพื่อใช้เป็นช่องทางใหม่ ในการซื้อขายจนกลายเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่ที่เรียกว่า M-Commerce (Mobile Commerce) โดยใช้จุดเด่นของโทรศัพท์เคลื่อนที่มีมากกว่าการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายเท่าตัวคือราคาถูก สะดวก และคล่องตัวในการพกพา สะดวกสบายในการเข้าถึงบริการได้ทุกที่และทุกเวลา ส่งผลให้เกิดการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของ Mobile Commerce หรือ M-Commerce เพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ธุรกิจที่ทำการค้าผ่านเว็บไซต์ และผู้ประกอบธุรกิจอื่น ให้ความสนใจ และหันมาดำเนินธุรกิจในการทำธุร กรรมทางการค้าในรูปแบบของ M-Commerce มากยิ่งขึ้น

M–Commerce หมายถึงการทำธุรกรรมใดๆ ด้วยมูลค่าเงินตราที่ถูกชักนำโดยผ่านเครือข่ายการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Durlacher Research, 2000) ดังนั้น M-Commerce จึงเป็นการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางธุรกิจหรือทางการเงินโดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในระบบแนวความคิดของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ (หรือ E-Commerce) ที่ใช้อุปกรณ์พกพาไร้สายเป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อและขายสินค้า การสั่งซื้อสินค้าและบริการ รวมทั้งการรับส่งอีเมล์โดย M-Commerce ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถพกพาไปได้ทุกที่ไม่จำกัดสถานที่และเวลา (Anywhere and Anytime) ทำให้ตลาดการค้าออนไลน์ หรือการทำ ธุรกรรมเชิงพาณิชย์โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นตลาดที่มีศักยภาพ เพราะสะดวกสบาย ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ในการจับจ่าย อีกทั้งคนในสังคมไทยมีความคุ้นเคยกับการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่แล้ว


ขอบเขตของ M-Commerce
ขอบเขตของ M-Commerce ครอบคลุมทั้งการดำเนินธุรกรรม สามารถแบ่งตามความสัมพันธ์ทางการตลาดระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าหรือบริการ ได้ 3 รูปแบบดังนี้

1. แบบธุรกิจกับธุรกิจ (Business-to-Business : B2B )
มักเรียกย่อๆว่าแบบ B2B เป็นรูปแบบการทำธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกัน เข้ามาทำการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการร่วมกันเช่น การซื้อขายสิ้นค้า/บริการโดยใช้โทรศัพท์ เคลื่อนที่โดยผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต โดยผู้ซื้อและผู้ขายที่เป็นผู้ประกอบการทางด้านธุรกิจเพื่อทำความตกลงเจรจาซื้อขายสินค้าบริการกัน

2. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (Business-to-Consumer : B2C)
เป็นรูปแบบของ M-Commerce ที่ผู้ประกอบการจะใช้เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภคจำนวนมากเพื่อให้เข้าถึงได้โดยตรงและไม่ต้องผ่านคนกลางเช่น การส่ง SMS จากผู้ใช้บริการไปยังศูนย์ให้บริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความทายผลฟุตบอล การส่งข้อความตอบคำถามรายการทางโทรทัศน์ ฯลฯ ซึ่งมีการเก็บค่าบริการในอัตราพิเศษ และมีการกำหนดรางวัล ล่อใจในรูปแบบของการชิงโชค

3. แบบผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer-to-Consumer : C2C)
แบบ C2C เป็นรูปแบบของ M-Commerce ที่เน้นการติดต่อซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตเฉพาะผู้บริโภคคนสุดท้าย โดยกรณีนี้ผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าจำนวนมากจะเข้ามาเพื่อทำการติดต่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าหรือบริการต่างๆ ด้วยตนเอง ส่วนใหญ่มักพบเห็นในการซื้อขายสินค้าประเภทมือสอง หรือสินค้าแบบประมูล โดยการฝากข้อความไว้ตามกระดานข่าวหรือปิดประกาศในช่องทางอินเทอร์เน็ตเพื่อประมูลซื้อขายสินค้าได้

การขยายตัวของ M-Commerce
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีระบบ ไร้สายได้ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเกิดการขยายตัวรวดเร็ว และสร้างโอกาสการพัฒนาช่องทางดำเนินธุรกรรมแบบใหม่ โดยผ่านช่องทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดังนั้นการดำเนินธุรกรรมผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ไร้ข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ ทำให้องค์กรทั้งหลายสนใจการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวเช่น การดาวน์โหลดเพลง การจ่ายค่าโดยสารผ่านอุปกรณ์มือถือ หรือการตรวจเช็คสต็อกสินค้าเพื่อดำเนินการสั่งซื้อขณะปฏิบัติการภาคสนาม เป็นต้น แม้แต่ธนาคารชั้นนำแห่งยุโรปเหนือได้นำโปรโตคอลที่แสดงด้วยรูปแบบ HTML, XML และมาตรฐานเว็บที่สามารถแสดงผ่านบนระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อให้บริการกับลูกค้าที่เรียกว่า WAP Banking Service ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี WAP (Wireless Application Protocol) ได้มีบทบาทกับตลาดยุโรปเหนือ ด้วยเหตุนี้ธนาคารหลายแห่งในภูมิภาคยุโรปจึงสนใจลงทุนเทคโนโลยี WAP ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวในการให้บริการด้วยรูปแบบอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง

ช่วงปลาย ค.ศ. 1999 Datamonitor ได้ทำการสำรวจผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุโรป ซึ่งรายงานสรุปว่ามีผู้ใช้บริการราว 133 ล้านคน และใน ค.ศ. 2005ได้มีผู้ประเมินมูลค่าธุรกรรมผ่านช่องทางระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงถึงราวสองล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ที่ใช้ M-Commerce แบบ B2C อย่างไรก็ตามยังมีการโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สายฟรี (Wi-Fi hotspots) ในสหรัฐอเมริกาเจริญเติบโตเร็วมาก เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาออนไลน์ คาดว่ามีรายได้ประมาณ 170 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ใน ค.ศ. 2005 ที่ผ่านมาเติบโตเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 26 จากรายงานผลการวิจัยของ Jupiter Research ทำให้ทราบว่า ธุรกิจ M-Commerce มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชียมีรายได้จาก M-Commerce ประมาณ 9.4 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ.2005 หรือ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 40 ของรายได้จาก M-commerce ทั่วโลก

วิวัฒนาการของ E-Commerce

M-Commerce จึงจำเป็นต้องทราบวิวัฒนาการของ E-Commerce ด้วย เพื่อจะได้ทราบถึงสาเหตุการเกิด M-Commerce ได้ดีขึ้น วิวัฒนาการของ E-Commerce มี 2 ระยะคือ
1. ระยะแรก การค้าอิเล็กทรอนิกส์เริ่มขึ้นบนโลกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2513 ซึ่งได้เริ่มใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเอฟที (EFT : Electronic Fund Transfer) แต่ในขณะนั้นมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่และสถาบันการเงินเท่านั้นที่ใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาอีกไม่นานก็เกิดระบบการส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีดีไอ (EDI : Electronic Data Interchange) (ภาพที่ 1) ซึ่งสามารถช่วยขยายการส่งข้อมูลจากเดิมที่เป็นข้อมูลทางการเงินอย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลแบบอื่นเพิ่มขึ้นเช่น การส่งข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ผลิต หรือผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีก เป็นต้นหลังจากนั้นก็มีระบบสื่อสารรวมถึงโปรแกรมอื่นๆ เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ระบบที่ใช้ในการซื้อขายหุ้นจนไปถึงระบบที่ช่วยในการสำรองที่พัก ซึ่งเรียกได้ว่าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการสื่อสาร แต่การนำเอาระบบ EDI มาใช้ยังได้รับความนิยมค่อนข้างน้อย เพราะมีค่าใช้ จ่ายในการวางระบบและดำเนินงานสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการที่จะให้คอมพิวเตอร์ของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถรับส่งข้อมูลกันได้อย่างราบรื่น ยิ่งมีฝ่ายที่เกี่ยวข้องมากขึ้นเท่าไร ความยุ่งยากซับซ้อนยิ่งมีมากขึ้นเท่านทำให้ใช้กันเฉพาะในวงการอุตสาหกรรมหรือการค้าเฉพาะทางที่มีผู้เกี่ยวข้องเพียงไม่กี่ฝ่ายเท่านั้นเช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ การจัดส่งสินค้าและนำเข้า/ส่งออกผ่านพิธีศุลกากร การเงินและการธนาคาร

การนำเอาระบบ EDI มาใช้


2. ระยะที่ 2 เมื่อยุคของอินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2533–2542 เมื่อยุคของอินเทอร์เน็ตที่แผ่ขยายอย่างรวดเร็ว แนวคิดเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการค้าระหว่างคอมพิวเตอร์ของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงนั้นก็เกิดขึ้น (ภาพที่ 2) โดยแทนที่จะเป็นเรื่องของธุรกิจขนาดใหญ่อย่างกรณีของระบบ EDI จึงกลายมาเป็นการซื้อขายในระดับของผู้บริโภคทั่วๆไปโดยตรง ใครมีคอมพิวเตอร์ใช้และต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ก็สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับกระบวนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ได้เลยทันที ไม่ต้องมีขั้นตอนยุ่งยากในการประสานงานกันระหว่างแต่ละฝ่ายเหมือนแต่ก่อน
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การค้าอิเล็กทรอนิกส์บนอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้ง่ายกว่าระบบ EDI ก็เพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน โปรแกรมสำหรับเรียกดูข้อมูลหรือ browser (เช่น Internet Explorer) สามารถทำงานได้ค่อนข้างหลากหลายและได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ก็เป็นพื้นฐานของคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว โครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ที่จำเป็นสำหรับการทำงานแบบเดียวกันกับ EDI กลายเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคสามารถหามาใช้และทำความเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ผู้ขายเพียงแค่ตั้งเครื่องสำหรับให้บริการข้อมูลสินค้า และรับคำสั่งซื้อพร้อมกับการรับชำระเงินในรูปของเว็บไซต์ (web site) ก็ดำเนินการค้าได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายถูกมากเมื่อเทียบกับแต่ก่อน
เนื่องจากการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตโดยผ่านการทำธุรกรรมทาง E-Commerce มีข้อจำกัดในด้านความสะดวกในการพกพา ตลอดจนการเข้าถึงบริการในด้านสถานที่และเวลาทำให้มีการนำเอาเทคโนโลยีของโทรศัพท์ เคลื่อนที่มาเป็นช่องทางในการทำธุรกรรมขจัดปัญหาหรือข้อจำกัดดังกล่าวข้างต้นได้


ระบบการซื้อขายผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต


วิวัฒนาการของ M-Commerce
แบ่งออกได้เป็น 3 ยุคคือ
1. ยุคที่เริ่มใช้ SMS (Short Messages Services) ซึ่งนับเป็นยุคแรก พ.ศ. 2541-2542 SMS เป็นจุดเริ่มที่สำคัญในการดำเนินการค้าในลักษณะของ M-Commerce และมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ทางด้านสังคม โดย SMS จะเป็นการส่งข้อมูลสั้นๆ (มีความยาวไม่เกิน 160 ตัวอักษร) ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งในระยะเริ่มแรกการใช้ SMS จะมีวัตถุประสงค์ในการแจ้งเตือนเจ้าของโทรศัพท์มากกว่าจะเป็นการนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น และมีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในต่างประเทศ อย่างเช่นในระหว่าง ค.ศ. 2000 หรือ พ.ศ.2543 ทวีปยุโรปมีการใช้งาน SMS มากถึง 2 พันล้านข้อความต่อเดือน ทำให้การสื่อสารในลักษณะของ SMS เป็นที่แพร่หลาย และนิยมใช้ในการติดต่อสื่อสารมากขึ้น
2. ยุคที่ใช้ WAP (Wireless Application Protocol) พ.ศ.2542-2543 เป็นยุคที่ผู้คนต่างก็มีความจำเป็นในการค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต และการเข้าถึงบริการต่างๆ จากเว็บไซต์ ทำให้ WAP ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อความต้อง การในช่วงปลาย ค.ศ. 1999 ถึงต้น ค.ศ. 2000 ทำให้ผู้ที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถใช้บริการหรือโต้ ตอบผ่านเว็บไซต์ต่างๆได้ รูปแบบของการใช้ WAP จึงเป็นการเข้าใกล้รูปแบบการค้าในลักษณะที่เป็น M-Commerce มากยิ่งขึ้น (ภาพที่ 3) โดยเฉพาะเมื่อธุรกิจที่ดำเนินการค้าอยู่ในปัจจุบันมีการพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับการขายและการให้บริการผ่านเว็บไซต์ รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอุปกรณ์สื่อสารเช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ PDA (Personal Digital Assistant) และอุปกรณ์อื่นๆ อันได้แก่ Walkman กล้องดิจิตอล ฯลฯ จึงทำให้เกิดรูปแบบการดำเนินธุรกิจและบริการใหม่ๆ ในลักษณะของ M-Commerce เกิดขึ้นมากมาย โดย I-Mode เป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จคือมีจำนวนหน้าของผู้เข้ามาใช้บริการถึง 40 ล้านHits ต่อวัน (ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเว็บได้มากถึง 6 พันเว็บ) และ Yahoo ที่ประเทศญี่ปุ่นมีมากถึง 80 ล้านHitsต่อวัน
3. ยุคก้าวเข้าสู่บรอดแบนด์ พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป กำลังเริ่มเข้าสู่ยุคที่สาม นั่นคือการที่เครือข่ายไร้สายกำลังอยู่ในขั้นที่สามารถช่วยให้การรับ-ส่งข้อมูลมีความเร็วที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ GPRS (General Package Radio Service) หรือการให้บริการของผู้ให้บริการรายใหม่ โดยอาศัยเทคโนโลยีของ CDMA (Code Division Multiple Access) การรับ-ส่งข้อมูลในรูปแบบของเสียง (Voice) และข้อมูล (Text) จะเปลี่ยนไปสู่มัลติมีเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น