วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Managers and Decision Making

การบริหารจัดการคือกระบวนการทำให้บรรลุถึงเป้าหมายขององค์กรที่วางไว้ โดยใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่ อันได้แก่ พนักงาน (people) เงิน (money) พลังงาน (energy) วัตถุดิบ (materials) พื้นที่ใช้สอย (space) เวลา (time)
ทรัพยากรต่างๆเหล่านี้ ถูกพิจารณาว่า เป็น อินพุท การบรรลุถึงเป้าหมายจะถูกมองว่า เป็นเอาท์พุทของกระบวนการ
อัตราส่วนระหว่าง อินพุทและเอาท์พุท คือตัวชี้วัดผลิตผลขององค์กร (organization’s productivity)

The Manager’s Job
- เพื่อให้เข้าใจว่า ระบบสารสนเทศจะให้การสนับสนุนแก่ผู้บริหารอย่างไรบ้าง ก็ควร จะทราบงานของผู้บริหารก่อนว่า จะต้องเกี่ยวข้องกับด้านใดบ้าง
- ผู้บริหาร(Manager) มีบทบาทพื้นฐานสามด้านได้แก่ (Mintzberg 1973) :
- บทบาทด้านการประสานงานระหว่างบุคลต่างๆ (Interpersonal roles): เช่น การ แบ่งกลุ่มทำงาน การเป็นผู้นำ
การเป็นผู้ช่วยเหลือ
- บทบาทด้านที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ (Informational roles): เช่น การเฝ้ามอง การ เผยแพร่ การเป็นนักพูด(โฆษก)
- บทบาทด้านที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Decisional roles): เช่น การเป็นเจ้าของ กิจการ การเป็นนักปลุกระดม การเป็น
นักจัดกำลังพล การเป็นนักต่อรอง
- ในอดีตนั้น IT มักจะสนับสนันทางด้านสารสนเทศเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันต้อง สนับสนุนทั้งสามด้าน

Decision Making and Problem Solving

การตัดสินใจ (decision) หมายถึง การเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งใน สองทางเลือก
การตัดสินใจนั้น อาจเป็นงานที่ต้องทำเป็นครั้งคราว หรือ ต่อเนื่อง โดยคนๆเดียว หรือเป็นกลุ่มบุคคลก็ได้
Computerized Decision Aids: จะขึ้นอยู่กับ 4 คำถามต่อไปนี้
1) ทำไมผู้ลบริหารจึงต้องการการสนับสนุนจาก IT
2) งานของผู้บริหารเป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมดได้หรือไม่
3) มีอะไรบ้างที่ IT สมารถให้การสนับสนุนผู้บริหาร
4) สารสนเทศต้องการให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างไร
มาดูคำตอบต่าง ๆ ….

Why Manager Need The Support Of Information Technology ?
- ปัจจัยหลักของการทำการตัดสินใจที่ดี คือ ตรวจสอบและเปรียบเทียบทางเลือกต่างๆที่ สัมพันธ์กัน ยิ่งมีทางเลือกมากเท่าใดก็ยิ่งต้องการความช่วยเหลือของคอมพิวเตอร์ทาง ด้านการค้นหาและการเปรียบเทียบมากขึ้นเท่านั้น ในทางปฎิบัติแล้ว การตัดสินใจมักทำภายใต้ความกดดัน(ด้านเวลา) มักจะพบเห็นบ่อยๆ ว่า เป็นไปได้ยากในการใช้กระบวนการแบบ manual มาค้นหาสารสนเทศที่ต้องการ อย่างรวดเร็วพอเพียงและให้มีประสิทธิผล มันจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการทำการวิเคราะห์ภาพลักษณ์ต่างๆเพื่อทำให้การตัดสินใจได้ดี การวิเคราะห์ข้างต้นจำเป็นต้องใช้แบบจำลอง ผู้ตัดสินใจอาจอยู่ต่างสถานที่กันและมีสารสนเทศที่ต่างกัน การนำสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดมา รวมกันอย่างรวดเร็วและไม่แพงมากนัก มักจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก บ่อยครั้งในการตัดสินใจ ต้องการการพยากรณ์จากองค์กร เช่น ด้านราคา ส่วนแบ่งการตลาด เป็นต้น ดังนั้น การพยากรณ์ที่แม่นยำต้องการเครื่องมือทางสถิติและการวิเคราะห์
การตัดสินใจต้องการข้อมูล แต่จำนวนข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Internet clickstream) และข้อมูลมาจากหลายแหล่ง ดังนั้นจึงต้องทำการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ข้างต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น