วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนกลุ่มพนักงาน

เมื่อทราบถึงการจัดกลุ่มตามระดับชั้นแล้ว มาดูว่าแต่ละกลุ่มต้องการระบบสารสนเทศอะไรมาสนับสนุนบ้าง ระบบสารสนเทศเหล่านี้ได้แก่
1) Transaction Processing System (TPS)
- TPS ใช้กับงานประจำที่เป็นแบบอัตโนมัติและงานแบบซ้ำ ๆ งานเหล่านี้มีความ สำคัญต่อการดำเนินการขององค์กรเป็นอย่างมาก - - ตัวอย่างเช่น การจัดเตรียมการ จ่ายเงินเดือน ส่งใบเก็บเงินไปยังลูกค้า Point-of-Sale และ การดำเนินงานในแวร์ เฮาส์ (Warehouse)
- ข้อมูลที่ถูกรวบรวมจากงานข้างต้นจะเป็นข้อมูลสนับสนุนในส่วนของระบบ MIS และ DSS ที่ถูกใช้โดยผู้บริหารระดับกลาง (Middle Management)
- การรวบรวมข้อมูลจะใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์จะถูกใช้ ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องสายโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain)
- กล่าวโดยสรุป จุดมุ่งหมายหลักก็คือ ใช้ทำรายการทางธุรกรรมต่าง ๆ (transactions) และ เก็บรวบรวมข้อมูล
2) Management Information Systems (MIS)
- ระบบเหล่านี้เป็นการ เข้าถึง จัดรูปแบบ สรุปผล และ แสดงสารสนเทศเพื่อสนับ สนุนกระบวนการตัดสินใจตามฟังก์ชันของพื้นที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง MIS จะเกี่ยว พันกับผู้บริหารระดับกลาง ที่ใช้ MIS ในการทำรายงานที่ต้องสร้างขึ้นมาเป็นประจำ เช่น รายชื่อพนักงานรายวัน จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน หรือ ค่าใช้จ่ายรายเดือน เมื่อ เทียบกับตัวเงินที่มีอยู่ เป็นต้น
- ทั่ว ๆ ไปจะนำมาใช้ใน Replenishment, Pricing Analysis (Markdowns) และ Sales Management
- รองรับการตัดสินใจปัญหาแบบมีโครงสร้าง
- จุดมุ่งหมายหลักคือประมวลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
3) Decision Support Systems (DSS)
- ระบบเหล่านี้รองรับการตัดสินใจที่ซับซ้อนและไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นประจำ (complex non-routine)
- จุดมุ่งหมายหลักคือประมวลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
- ระบบ DSS มักถูกใช้โดย tactical level management เพื่อช่วยในการตัดสินใจ และ “การวิเคราะห์ในเชิง จะเกิดอะไรขึ้นถ้า (what-if analysis)” ซึ่งเป็นปัญหาแบบกึ่ง โครงสร้าง
- ระบบสารสนเทศชนิดนี้ มิได้ให้คำตอบเพียงอย่างเดียว แต่ยังให้สารสนเทศที่เป็น ทางเลือกด้วย
- บางวิธีการของ DSS
Mathematical Modeling Simulation
Queries What-If (OLAP-Cubes)
Datamining
4) Intelligent Support Systems (ISS)
- เน้นไปที่ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence (AI)) ซึ่งช่วยแก้ปัญหาในแบบ อัจฉริยะ (Intelligence)
- รูปแบบหนึ่งของการประยุกต์ใช้ AI คือ ระบบผู้ชำนาญการ (Expert System; ES) ทำหน้าที่เก็บองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญแล้วป้อนไปยังผู้ที่ยังไม่เก่งเพื่อช่วยแก้ปัญหา ดังนั้นมันจึงถูกนำมาใช้แก้ปัญหาที่ยุ่งยาก หรือ กินเวลานาน
- ระบบเหล่านี้จะแตกต่างไปจาก TPS (ทำตัวเป็นศูนย์กลางของข้อมูล) MIS และ DSS (มุ่งเน้นไปที่การประมวลข้อมูล) โดยผู้ใช้ DSS จะตัดสินใจบนสารสนเทศที่สร้าง ขึ้นจากระบบ เมื่อเปรียบเทียบกับ ES ระบบจะให้คำแนะนำในการตัดสินใจบน พื้นฐานของความชำนาญและองค์ความรู้ที่ใส่ลงไปในระบบ (built-in expertise and knowledge)
5) Executive Support Systems (ESS)
ระบบ ESS หรือ Enterprise Information Systems (EIS) แบบเดิม สร้างขึ้นมาเพื่อ สนับสนุน Senior management นอกจากนั้นยังขยายไปสนับสนุนผู้บริหารอื่น ๆ ในองค์กรด้วย
ในระดับ senior management level มันสนับสนุนการดำเนินการวางกลยุทธ์ ซึ่ง เกี่ยงข้องกับสถานะการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา

6) Office Automation Systems (OAS)

- ระบบสำนักงานอัตโนมัติหมายถึง การสื่อสารแบบอิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ใน สำนักงาน รวมถึง word processing systems, document management systems และ desktop publishing systems
- ระบบ OAS ถูกใช้กับพนักงานธุรการที่ต้องทำงานสนับสนุนผู้บริหารทั้งหลายเป็น ส่วนมาก ใครก็ตามในกลุ่มนี้ ที่ทำหน้าที่จัดการ เผยแพร่สารสนเทศ มักจะเรียกว่า data workers.
7) Knowledge Management Systems (KMS)
- พนักงานระดับให้การสนับสนุนกลุ่มหนึ่ง อยู่ระหว่าง Top กับ middle กลุ่มนี้จะ เป็นพนักงานมืออาชีพ เช่น นักวิเคราะห์การเงินและการตลาดทำหน้าที่เป็นผู้ช่วย ให้คำแนะนำทั้งระดับ top และ middle management
- พนักงานกลุ่มนี้มีหน้าที่ค้นหาหรือพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ (External Content) เพื่อ ป้อนให้กับองค์กร และ รวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในองค์กร (Internal Content)
- ระบบ KMS สนับสนุนพนักงานชำนาญการเหล่านี้ ในการจัดหาตั้งแต่ Internet search engines และ expert systems ไปจนถึง Web-based computer-aided design และ sophisticated data management systems

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น