วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกับกลยุทธ์ในการแข่งขัน

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกับกลยุทธ์ในการแข่งขัน
การประยุกต์ใช้ระบบ DDS
ตัวอย่าง : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกับกลยุทธ์ในการแข่งขัน
บริษัทไฟร์สโตน ในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการออกแบบยางรถยนต์ยี่ห้อใหม่ ระบบช่วยให้นักวิเคราะห์มองเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผล ทางด้านการเงินในอดีตกับตัวแปรภายนอก เช่น จำนวนรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมด ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแล้วนำมาสร้างโมเดลในการพยากรณ์การขาย
ด้วยโมเดลต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ ช่วยให้นักวิเคราะห์ของบริษัทไฟร์สโตน สามารถสร้างฐานข้อมูลที่บรรจุยางของคู่แข่งทั้งหมด 200 ยี่ห้อ รวมทั้งข้อมูลในการผลิต แรงกด ปริมาณ และประมาณการขาย ซึ่งผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลนี้สำหรับการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ระบบช่วยให้องค์การสามารถนำเอาประเด็นด้านเทคโนโลยีมาผนวกกับ ด้านการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และช่วยสนับสนุนให้มีการตัดสินใจร่วมกันของหน่วยงานตามหน้าที่ต่างๆ ในองค์การ (Zwass , 1998 : 353)

คำถาม
1. ผู้ใช้ระบบคือใคร
ตอบ บริษัทไฟร์สโตน ในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจว่า ระบบนี้เป็นระบบสารสนเทศที่จัดทำให้นักวิเคราะห์ขององค์การเพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและสารสนเทศสำหรับการวางแผนและตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง สามารถสร้างฐานข้อมูลที่บรรจุยางของคู่แข่งทั้งหมด 200 ยี่ห้อ รวมทั้งข้อมูลในการผลิต แรงกด ปริมาณ และประมาณการขาย

2. ท่านคิดว่าตัวแปรใดบ้างที่ควรอยู่ในโมเดลพยากรณ์การขาย
ตอบ ดิฉันคิดว่าคงเป็นตัวแปรภายนอก เช่น จำนวนรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมด ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ โมเดลในการพยากรณ์การขาย
ตัวแปรภายใน เช่น ด้านการเงินในบริษัท รวมทั้งข้อมูลในการผลิต แรงกด ปริมาณ และประมาณการขาย.

ที่มา:http://osnuyos.blogspot.com

Financial Statement Report

ตัวอย่างระบบ TPS
เป็นรายงานสำหรับใช้งานการรวมเล่มหรือทำเป็นเล่ม จากรายงานต่าง ๆ ที่มีในระบบ



ที่มา:http://www.youtube.com/user/beecomeonline

ระบบสั่งซื้อสินค้า (P/O)

ตัวอย่างระบบสารสนเทศ TPS
ระบบ Purchase Oreder ผู้ใช้งานสามารถสร้างขั้นมาเอง หรือโดยการโหลดมาจากระบบ Purchase Request (P/R) ได้ โดยราคาที่ได้จะถูกนำมาจาก Bid Price , Last Receiving , Product Market Proice หรือกรอกเอง ตามลำดับ



ที่มา:http://www.youtube.com/user/beecomeonline

Mobile Commerce Revolution

พฤติกรรมของผู้บริโภค สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ “ความสะดวกสบาย” การขยายตัวอย่างรวดเร็วของโทรศัพท์มือถือ จึงส่งผลให้หลายธุรกิจปรับตัวเข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปตามกระแส และการเติบโตของตลาดในหลายๆ “Mobile Commerce” จึงไม่ใช่แค่การโฆษณาบนโทรศัพท์มือถือ เพราะ Social Media ก้าวเข้ามามีผลกับการคิดและตัดสินใจซื้อสินค้า ทำให้ผู้บริโภคสนใจอ่านรีวิวสินค้ามากขึ้น เป็นเรื่องทีน่าจับตามอง ความเปลียนแปลงจากอดีตไปจนถึงปัจจุบัน จะทำให้เราคาดการณ์อนาคตและเลือกรับมือกับการตลาดได้ง่าย


ที่มา:http://www.pleplejung.com

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เปิดอกคุยเรื่อง Business Intelligence

คุณอาจกำลังเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อมอยู่ คุณอาจจะรู้สึกว่ามันไม่ได้ยากขนาดนั้น หรือบางทีคุณก็อาจจะรู้สึกอยู่บ้าง ไม่มีคำว่าเรื่องเล็ก(หรือเรื่องระดับกลาง)หรอกเมื่อพูดถึงความยุ่งยากของการบริหารธุรกิจตัวเอง เพราะทุกอย่างล้วนแต่เป็นเรื่องใหญ่ทั้งนั้น ในช่วงเวลาหนึ่งของการทำธุรกิจ คุณอาจจะพบว่าตัวเองกำลังพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อสำรวจประสิทธิภาพของการทำการขาย สำรวจรายการสินค้า จัดการกับรายรับรายจ่าย หรือลดความไร้ประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตก็เป็นได้

คุณมีข้อมูลทุกอย่างอยู่ครบมือ น่าจะอยู่ที่ไหนสักแห่งในบริษัท เช่นว่าในรายการขายสินค้าตัวนี้ ในรายการสินค้าตรงนั้น ในบัญชีแยกประเภท หรือในรายการอัพเดทการผลิต กล่าวง่ายๆก็คือข้อมูลพวกนี้ถูกฝังอยู่กระจัดกระจายทั่วไปหมด คงเป็นเรื่องดีไม่น้อยทีเดียวถ้าคุณจะสามารถดึงข้อมูลเหล่านี้มารวมกันและใช้มันเพื่อวิเคราะห์ธุรกิจได้อย่างสมบูรณ์ คุณจะได้วางแผนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เรื่องที่น่าดีใจก็คือ คุณสามารถทำเช่นนั้นได้ด้วยเทคโนโลยีของระบบ Business Intelligence แน่นอน คุณคงกำลังคิดว่า “ฉันคงไม่มีเงินพอซื้อเทคโนโลยีซับซ้อนแพงๆพวกนั้นหรอก Business Intelligence เหรอ นั่นมันสำหรับพวกธุรกิจใหญ่ๆนี่ องค์กรที่มีทีมไอทีเก่งๆเยอะๆ”

ทว่าไม่มีอะไรที่ไกลเกินกว่าความจริงสักอย่าง ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่แค่ไหน จะทำธุรกิจด้านใด คุณเองก็มีข้อมูลจำนวนมากมายรวบรวมไว้แล้วด้วยซอฟต์แวร์ต่างๆที่ล้วนเป็นหลักสำคัญของเทคโนโลยี Business Intelligence ถ้าคุณมี Microsoft Office และ Microsoft SQL Server ก็เท่ากับคุณมีพื้นฐานพร้อมสำหรับการเลือกใช้โซลูชัน BI (คุณอาจจะถามว่ามันคืออะไรนะ คุณไม่อยากลงทุนกับการทำระบบฐานข้อมูลเพิ่มอีกชุดใช่ไหม) เคยได้ยินผลิตภัณฑ์ที่ชื่อ Microsoft SQL Server 2008 Express ไหม คุณสามารถใช้มันได้ในราคา....ฟรี! และถ้าหากคุณจะบังเอิญมี Office SharePoint Server คุณก็ยิ่งเข้าใกล้กับโซลูชัน BI ที่ดีเข้าไปอีกขั้นหนึ่ง

เรามาลองพิจารณาถึงกระบวนการและเครื่องมือต่างๆสำหรับดึงสาระสำคัญๆทางธุรกิจจากข้อมูลของคุณกัน

ขั้นแรกคือการรวมข้อมูลและรายงานสำคัญต่างๆทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ลองนึกถึงรายงานที่คุณทำอยู่แล้วทุกวัน มีทางบ้างไหมที่จะทำรายงานให้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น พร้อมสำหรับใช้งานมากขึ้น คุณอาจจะต้องการข้อมูลจากบุคคลสำคัญทุกคนในองค์กร รวมถึงผู้ให้บริการภายนอกที่ต้องการรายงาน อาทิ บริษัททำบัญชีหรือบริษัทให้คำปรึกษาด้านอีคอมเมิร์ซ (เมื่อคุณพูดคุยกับบริษัทผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับรายงาน ต้องมั่นใจว่าคุณเข้าใจวิธีการและระบบการวัดประสิทธิภาพที่พวกเขาใช้วัดประสิทธิภาพทางธุรกิจ เพราะอาจจะมีจุดที่แตกต่างกัน)

จากนั้น คุณก็จะต้องมาพิจารณาข้อมูลต่างๆที่สะเปะสะปะเหล่านี้หรือที่พวกคนเก่งๆมักเรียกว่า “data point” เพื่อหาข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการสร้างรายงาน เมื่อได้ data point ทั้งหมดแล้ว คุณก็จะต้องหาแหล่งที่มาของข้อมูล

เอาล่ะ ทีนี้เมื่อคุณรู้แล้วว่าคุณต้องการข้อมูลใดบ้างและสามารถหามันได้จากที่ไหน คุณก็จะต้องรวมข้อมูลเหล่านั้นเข้ามาเพื่อสร้างฐานข้อมูล ซึ่งคุณสามารถนำมันมาดู แยก และวิเคราะห์มันได้ หรือพูดให้ง่ายก็คือ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านี้สามารถเปลี่ยนเป็นรายงานตามที่พูดกันในขั้นตอนแรกได้นั่นเอง

ขั้นต่อมา คือการสร้างรายงานตามต้องการและปรึกษากับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งย่อมหมายถึงการตรวจสอบข้อมูลต่างๆของรายงานโดยละเอียดกับผู้บริหาร บริษัทคู่ค้า และคนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ง่ายๆก็คือทุกคนที่คุณวางแผนจะแสดงข้อมูลเหล่านี้และใช้ข้อมูลนี้เพื่อการตัดสินใจเชิงธุรกิจ เพราะนี่เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่ทุกคนจะต้องเข้าใจว่าตัวเลขต่างๆเหล่านั้นมีที่มายังไง นอกจากนี้แล้ว ข้อผิดพลาดหรือรายการข้อมูลที่อาจจะถูกลืมมักปรากฏให้เห็นชัดระหว่างการพูดคุยตรวจสอบเช่นนี้ ดังนั้นคุณจึงควรให้ความสนใจกับคำแนะนำและข้อเสนอแนะต่างๆพร้อมแก้ไขตามที่จำเป็น

เมื่อคุณได้ตัดสินใจเรียบร้อยแล้วว่าต้องการข้อมูลใดบ้าง ข้อมูลเหล่านั้นจะมาจากไหน และรายงานจะถูกสร้างด้วยวิธีการใด ขั้นต่อมาที่คุณต้องทำก็คือการวางระบบสำหรับการแชร์การใช้รายงานระหว่างบุคคลในองค์กรตามความเหมาะสม ซึ่งก็อาจจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการเผยแพร่เอกสารดังกล่าวบนระบบอินทราเนตพอร์ทัลขององค์กร ด้วยการแชร์เอกสารผ่านระบบออนไลน์ คุณก็จะสามารถติดตามจำนวนผู้ใช้งานที่มีการเรียกใช้ข้อมูล และวางแผนได้ว่ารายงานฉบับใด รวมถึงส่วนใดของรายงานบ้างที่เป็นที่ใช้งานแพร่หลายที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถทำการอัพเดทและปรับปรุงเอกสารได้ในที่เดียว มั่นใจได้ว่าทุกคนมีเอกสารรุ่นล่าสุดสำหรับใช้งาน

ขั้นตอนเดียวที่เหลืออยู่ก็คือการทำกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมาให้เป็นกระบวนการอัตโนมัติ เพื่อให้ระบบจัดสร้างรายงานและเผยแพร่เพื่อการใช้งานได้เอง ซึ่งนี่จะทำให้บุคลากรของคุณมีข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว แม่นยำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ผลประกอบการและการเติบโตขององค์กร

เรามาลองทบทวนกันอย่างเร็วๆอีกสักรอบ เราทราบแล้วว่าเราต้องการอะไร นั่นคือความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลและสังเกตแนวโน้มต่างๆที่สำคัญ และทำให้สามารถดึงเอาแนวโน้มเหล่านี้มาใช้งานได้จริงในธุรกิจด้วยการแชร์ข้อมูลกับบุคลากรภายในองค์กร จากนั้นเรารู้ว่าเราต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อให้ทำเช่นนั้นได้ คือระบบซอฟต์แวร์ข้อมูลที่จะช่วยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากเหล่านั้น และซอฟต์แวร์เพื่อการสื่อสารและทำงานร่วมกันเพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ให้ไปถึงมือบุคลากรเพื่อเปลี่ยนมันเป็นการปฏิบัติงานจริง

เรามาลองดูเทคโนโลยีเบื้องหลังโซลูชัน BI กันแบบละเอียดๆอีกสักหน่อย เริ่มต้นด้วยระบบฐานข้อมูลที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลต่างๆ ระบบนี้เป็นรากฐานหลักของระบบ Business Intelligence คุณจำเป็นต้องมีระบบฐานข้อมูลที่ประสิทธิภาพเพื่อรวบรวมข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับธุรกิจเพื่อช่วยให้คุณเห็นถึงจุดเล็กๆน้อยๆที่อาจเปลี่ยนแปลงธุรกิจของคุณได้ ระบบโครงสร้างฐานข้อมูล (ซึ่งเป็นคำที่ไอทีนิยมเรียกกัน) จำเป็นต้องมีความสามารถสูงในการออกรายงานและวิเคราะห์ข้อมูล Microsoft SQL Server 2008 สามารถช่วยคุณได้ในงานดังกล่าว ด้วย SQL Server คุณสามารถสร้างระบบที่ทรงศักยภาพสำหรับรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล ทั้งยังช่วยให้คุณสามารถทำการค้นหา ทำ query หรือทำการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนได้ด้วย

คุณอาจจะมีแอพพลิเคชันหรือระบบเพื่อการจัดการกิจกรรมประจำวันอยู่บ้างแล้ว ทว่าการดึงข้อมูลออกมาจากระบบเหล่านี้ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไรนัก เมื่อคุณใช้งานระบบฐานข้อมูลของ SQL Server คุณสามารถเลือกใช้ฟังก์ชัน built-in เพื่อออกรายงานแบบมาตรฐานเพื่อดูข้อมูลต่างๆได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งานระบบฐานข้อมูลได้จากใน SQL Server Reporting Services และจัดทำรายงานและการทำ visualization สำหรับข้อมูลเบื้องต้นได้ด้วยการใช้งานแอพพลิเคชันต่างๆของ Microsoft Office อาทิ Office Excel และเมื่อทุกคนในองค์กรอาจจะมี Excel สำหรับใช้งาน จึงทำให้ทุกคนสามารถดูผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะด้วยการให้บุคลากรของคุณทำ data exploration และ strategizing เอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคาดคะเน ทำการ visualize ข้อมูล รวมถึงสำรวจหาจุดเชื่องโยงระหว่างข้อมูลที่แยกกัน ทั้งหมดนี้ด้วยการใช้งานแหล่งข้อมูลร่วมกันทั้งหมด


ท้ายที่สุด ยังมีอีกองค์ประกอบในระบบของแพล็ตฟอร์ม Business Intelligence นั่นคือระบบการแชร์รายงาน SQL Server นั่นรับบทบาทสำคัญไปแล้วในการทำหน้าที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ บัดนี้เราจำเป็นต้องนำเอาผลการวิเคราะห์เหล่านั้นมาเปลี่ยนรูปแบบเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานสามารถทำความเข้าใจและใช้งานร่วมกันได้โดยง่าย คุณจำเป็นต้องมีหนทางสำหรับส่งเสริมการทำงานร่วมกันและจัดการกับไอเดียต่างๆที่ผุดขึ้นมา วิธีการในการสร้างรูปแบบและระบบเวิร์คโฟลว์ที่เหมาะสำหรับธุรกิจและเพื่อสร้างระบบ dashboard และ scorecard ซึ่งมีประโยชน์ Microsoft Office SharePoint Server 2007 มีหน้าที่จัดการงานในส่วนดังกล่าวนี้และช่วยส่งมอบข้อมูลสำคัญต่างๆไปยังมือของบุคลากรที่จะทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลในระดับถัดไป ไม่เพียงแต่ SharePoint Server จะทำหน้าที่ส่งมอบข้อมูลให้ไปถึงมือผู้ทำงานเท่านั้น แต่ยังทำเช่นนั้นในระบบของ Office ที่บุคลากรทั่วไปคุ้นเคยดีอีกด้วย จึงไม่ต้องเสียเวลากับการนั่งสับสนกับรายงานหน้าตาแปลกประหลาดและฟังก์ชันที่ไม่ชินตา ระบบ SharePoint ทำให้การแชร์ข้อมูลนั้นง่ายเพียงดีดนิ้ว (แน่นอนพวกเขาคงไม่ตั้งชื่อมันว่า SharePoint โดยไม่มีเหตุผลหรอก) ดังนั้นการร่วมมือกันทำงานระหว่างแผนกหรือหน่วยงานที่ต่างกันจึงง่ายและสะดวกสบายมาก

นั่นหมายความว่าระบบ BI ของคุณนั้นครอบคลุมทุกส่วนขององค์กร แทนที่จะสามารถใช้งานได้เฉพาะกลุ่มบุคคลหรือในทีมไอทีเท่านั้น ด้วยเทคโนโลยีต่างๆของไมโครซอฟท์ ระบบ Business Intelligence สามารถผสานเข้ากับธุรกิจของคุณได้อย่างเป็นหนึ่ง ช่วยให้ทุกคนสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้ด้วยข้อมูลอันมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มผลิตผลของงาน และผลักดันธุรกิจของคุณให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ถ้าคุณพร้อมและสนใจจะเริ่มต้นกับระบบ Business Intelligence ลองติดต่อและปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีของคุณเกี่ยวกับการวางระบบ Microsoft BU solution หากองค์กรคุณยังไม่มีพาร์ทเนอร์ไอที ลองคลิกเข้าไปที่ http://pinpoint.microsoft.com/en-US/ เพื่อดูรายชื่อบริษัทคู่ค้า Microsoft certified IT specialist ในพื้นที่ของคุณ ในยุคเศรษฐกิจเช่นนี้ ระบบ BI ช่วยเปลี่ยนองค์กรของคุณได้ รีบตัดสินใจแต่วันนี้

ที่มา:http://www.microsoft.com/business

Business Intelligence Demo Video

M-Commerce: เทคโนโลยีช่องทางธุรกรรมยุคใหม่

ด้วยความก้าวหน้าเทคโนโลยีระบบไร้สาย ได้ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเกิดการขยายตัวรวดเร็ว และสร้างโอกาสการพัฒนาช่องทางดำเนินธุรกรรมแบบใหม่ โดยเฉพาะการดำเนินธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ เรียกว่า Mobile Commerce (M-Commerce) หรือ W-Commerce

ดังนั้น การดำเนินธุรกรรมผ่านอุปกรณ์มือถือซึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ไร้ข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ ทำให้องค์กรทั้งหลายสนใจการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว เช่น การดาวน์โหลดเพลง การจ่ายค่าโดยสาร ผ่านอุปกรณ์มือถือหรือการตรวจเช็คสต็อกสินค้า เพื่อดำเนินการสั่งซื้อขณะปฏิบัติการภาคสนาม เป็นต้น แม้แต่ธนาคารชั้นนำแห่งยุโรปเหนือได้นำโปรโตคอลที่แสดงด้วยรูปแบบ HTML, XML และมาตรฐานเว็บที่สามารถแสดงผ่านบนระบบโทรศัพท์มือถือ นั่นคือ WAP เพื่อให้บริการกับลูกค้า เรียกว่า WAP Banking Service ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี WAP ได้มีบทบาทกับตลาดยุโรปเหนือ ด้วยเหตุนี้ธนาคารหลายแห่งในภูมิภาคยุโรปจึงสนใจลงทุนเทคโนโลยี WAP ซึ่งเป็นผลจากความอิ่มตัว การให้บริการด้วยรูปแบบอินเตอร์เน็ตแบงกิ้ง ช่วงปลายปี 1999 Datamonitor ได้ทำการสำรวจผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือในยุโรป ซึ่งรายงานสรุปว่า มีผู้ใช้บริการราว 133 ล้านคน และคาดการณ์ว่ามีการเติบโตกว่าเท่าตัวภายในปี 2005 ปัจจุบันได้มีผู้ประเมินมูลค่าธุรกรรมผ่านช่องทางระบบมือถือหรือ Mobile channel สูงถึงราวสองล้านล้านดอลล่าร์ ดังนั้น M-Commerce จึงเป็นตลาดที่สร้างช่องทางและโอกาสทางธุรกิจสูง ซึ่งการทำธุรกรรมระหว่างองค์กร(B2B) ในอนาคตจะเป็นรูปแบบประสานการทำงานร่วมกัน (Collaboration) โดย Mobile Commerce เป็นผู้เล่นที่มีบทบาทเชื่อมต่อกับห่วงโซ่อุปทาน ทำให้เกิดการลดต้นทุนและเวลาสำหรับดำเนินธุรกรรม เdmkb_2.1นื่องจากจำนวนผู้ใช้อุปกรณ์ระบบไร้สายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับแต่ช่วงปลายทศวรรษ 90 จึงทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้มีแนวโน้มลดลง สำหรับปัจจัยที่ช่วยดึงดูดให้มีผู้เข้ามาใช้งานเพิ่มขึ้น เนื่องจากการทำธุรกรรมผ่านระบบไร้สายสามารถตอบสนองให้กับผู้ใช้งานโดยไม่จำกัดตำแหน่งสถานที่ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าช็อปปิ้งหรือสั่งซื้อสินค้าได้ไม่จำกัดสถานที่ โดยใช้โทรศัพท์มือถือที่พกพาไป ดังกรณีลูกค้าของ Dagens Industri แห่งสวีเดนได้ทำการซื้อขายหุ้น ในตลาด Stockholm Exchange และรับข้อมูลซื้อขายหุ้นจากที่ต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ PDA ส่วน Citybank ได้เปิดบริการ Mobile banking ที่สิงคโปร์ ฮ่องกง และอีกหลายประเทศ นอกจากนี้ M-Commerce ยังเป็นช่องทางประมูลทางออนไลน์อย่าง QWL.Com แห่งประเทศอังกฤษได้ให้ลูกค้าเปิดบัญชีบนเว็บไซต์ และสามารถประมูลผ่านอุปกรณ์มือถือ รวมทั้ง e-Bay ดำเนินธุรกิจประมูลทางออนไลน์ผ่านอุปกรณ์มือถือเช่นกัน

แม้ว่าสหรัฐอเมริกาได้เป็นผู้นำแห่งเทคโนโลยีออนไลน์ แต่สำหรับการสื่อสารด้วยระบบไร้สายกลับได้รับความนิยมและพัฒนาอย่างรวดเร็วในยุโรปและญี่ปุ่น ดังนั้นผู้บุกเบิกให้บริการระบบไร้สายรายหลักของญี่ปุ่นอย่าง I-MODE ได้ประสบความสำเร็จจากการให้บริการอันหลากหลายผ่าน M-Commerce ระหว่างปี 1999-2000 ตั้งแต่การซื้อขายหุ้นทางออนไลน์ การซื้อตั๋วเดินทาง ตลอดจนการจองห้องคาราโอเกะด้วยการรับส่งภาพสีบน I-MODE ซึ่งการให้บริการดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 1999 โดยต้นปี 2001 ได้มีผู้ใช้บริการกว่า 15 ล้านคน ซึ่งทำให้ I-MODE ยกระดับการให้บริการระดับสากลในช่วงปลายปี 2001 และได้พัฒนารูปแบบการบริการที่ดึงดูดผู้ใช้งาน เช่น สามารถเข้าดูตารางเวลารถไฟ และรถบัส การสั่งซื้อเพลงผ่านทางออนไลน์ การสั่งซื้อตั๋วเครื่องบิน และการหาข้อมูลหนังสือขายดี เป็นต้น

ปัจจุบันเทคโนโลยี M-Commerce ได้พัฒนาสู่รูปแบบให้บริการตามตำแหน่งผู้ใช้อุปกรณ์มือถือ(Localization of services) หรือ L-commerce ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าผ่านอุปกรณ์มือถือ การให้บริการดังกล่าวทำให้ผู้ใช้ได้รับทราบตารางการเดินรถและตำแหน่งของรถบัส เพียงแค่โทรแจ้งทางระบบจะดำเนิน การคำนวณเวลาที่รถบัสมาถึงป้ายหรือสถานี นอกจากนี้ยังสามารถค้นหาตำแหน่งผู้ใช้มือถือว่ากำลังอยู่ตำแหน่งใด

เทคโนโลยีสนับสนุนธุรกรรมได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ M-Commerce ได้สร้างช่องทางเชื่อมโยงกับลูกค้าหรือคู่ค้าแบบไร้สาย ซึ่งมีบทบาทแทนที่รูปแบบการให้บริการในตลาดระบบโทรศัพท์แบบเก่า (Fixed - line) ด้วยความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ผลักดันให้ผู้พัฒนาซอฟท์แวร์เกิดการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อปรับปรุงสมรรถนะระบบไร้สายให้สามารถตอบสนองกับความหลากหลายของผู้บริโภคยุคใหม่ ด้วยเหตุนี้ M-Commerce จึงไม่เป็นเพียงแค่นวัตกรรมเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจยุคใหม่

ที่มา:โกศล ดีศีลธรรม http://www.logisticsdigest.com

แอบมอง Mobile Commerce ที่ญี่ปุ่นแล้วหันกลับมามองเมืองไทย

บทความดีๆ จากคุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ด้านE-commerce&Marketing ที่น่าสนใจมาฝากนะคะ

ช่วงนี้ผมมาที่ญีปุ่น (31/8/10) และพบว่า Mobile Commerce ที่ญี่ปุ่นโตมากๆ โดยตอนนี้เว็บไซต์ E-Commerce ของญี่ปุ่นหลายๆ แห่งเริ่มค้าขายกันผ่านโทรศัพท์มือถือกันมากขึ้น โดยบางเว็บมีรายได้มากกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ (35 ล้านบาท) ต่อเดือน หรือบางแห่งมีรายได้ผ่านช่องทางการขายสินค้าทาง M-Commerce มากกว่า 70% เลยทีเดียว

กลุ่มเป้าหมายที่น่าสนใจของกลุ่ม Mobile Commerce คือกลุ่มวัยรุ่นในญี่ปุ่น เพราะกลุ่มเหล่านี้ ไม่ค่อยมีเวลาเข้าถึง Internet ผ่านคอมพิวเตอร์ซักเท่าไร จึงนิยมใช้ Internet ผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นหลัก ดังนั้นจึงมีผู้ให้บริการ E-Commerce หลายๆ แห่งเริ่มทำแคมเปญ หรือการสื่อสารผ่านไปยังกลุ่มวัยรุ่นผ่านโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะ ซึ่งผลที่ได้คือยอดขายที่มากมายมหาศาลผ่านกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้

บริการที่สามารถเกิดขึ้นได้ผ่าน Mobile Commerce

ธนาคารในมือถือ (Mobile banking)
การค้าขาย-ซื้อของผ่านมือถือ (Mobile Commerce)
โฆษณา-การตลาดผ่านมือถือ (Mobile marketing and advertising)
ตั๋วผ่านมือถือ (Mobile ticketing)
โมบายคูปอง บัตรสะสมคะแนน (Mobile vouchers, coupons and loyalty cards)
การซื้อข้อมูล Digital Content พวกเพลง, หนังผ่านมือถือ (Content purchase and delivery)
บริการบอกตำแหน่งผ่านโทรศัพท์ (Location based services, information based services)
การใช้มือถือเป็นเครื่องมือชำระเงิน (Mobile purchases)

กลับมาดูเมืองไทย อะไรคือปัจจัยที่จะทำให้ m-Commerce บ้านเราเกิดได้

ทำให้ราคา Internet ผ่านโทรศัพท์มือถือ ราคาถูกลง (3G ช่วยได้) เมื่อถูกลง หรือเป็นบริการที่เป็นมาตรฐานเหมือนการโทรศัพท์ด้วยเสียงปกติ เมื่อนั้นคนก็เริ่มใช้มากขึ้น
เพิ่มบริการ Content บนมือถือให้เพิ่มมากขึ้น ต้องกระตุ้นให้ผู้ที่มีข้อมูลและบริการต่างๆ เริ่มใช้ผ่านโทรศัพท์มือถือมากขึ้น เช่นเว็บไซต์ต่างๆ หรือบริการของเอกชน หรือรัฐบาล หรือร่วมมือกับ website - developer ในเมืองไทยในการสร้าง content ขึ้นมา
ภาษา ปรับเปลี่ยนให้การเข้าถึงข้อมูลบนมือถือ เป็นเรื่องทีง่าย เป็นภาษาไทย คนไทยจะเข้าถึงง่ายขึ้นเยอะ เช่นเมนูโทรศัพท์ การปรับหรือ Config โทรศัพท์ให้ง่ายทีสุด
การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ ต้องง่ายและสะดวก ปัจจุบันผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือยังคง กินส่วนแบ่ง 50:50 กับผู้ให้บริการ ทำให้มีหลายๆ อย่างไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพราะถูกแบ่งรายได้มากเกินไป ดังนั้นเมื่อส่วนแบ่งนี้ลดลงมา ก็จะมีคนเข้ามาทำบริการบนโทรศัพท์มากขึ้น เพื่อสร้างรายได้เพิ่มในช่องทางนี้
หา benefit การใช้บนมือถือ ที่กระตุ้นและเร้าให้คนมาใช้ในช่องทางมือถือ เพราะมันทั้งสะดวกกว่า, เร็วกว่า, ถูกกว่า (ไม่ต้องลงทุนซื้อคอม)
การลุยกันของบรรดาผู้ให้บริการ โทรศัพท์ยักษ์ใหญ่ต่างประเทศเช่น Google (Android), MicroSoft (Windows Phone), Apple (iPhone), Blackberry จะเป็นตัวกระตุ้นให้คนใช้บริการบนมือถือมากขึ้น
การเอาจริงเอาจังของ Operator ในเมืองไทย ต้องเอาจริงเอาจังกว่านี้

ด้วยจำนวนคนที่ใช้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือมีเกือบทั้งประเทศ หากเราสามารถกระตุ้นให้คนเพียง 50% หันมาใช้ mobile commerce เท่ากับว่าเราจะมีคนพร้อมเข้าสู่ Internet เพิ่มอีกหลายสิบล้านคนทันที ซึ่งผมเชือว่า "ยังไง mobile commerce ก็มาแน่"

ที่มา:http://www.pawoot.com

Mobile Technology 2011

Mobile Computing Applications for First Responders

The Future of M-Commerce - Did You Know 4.0

Decision Support Systems(DSS): For Individuals, Groups and the Enterprise

ระบบสนับสนุนในการตัดสินใจ (DSS) หมายถึงระบบสารสนเทศที่อาศัยคอมพิวเตอร์ (computer-based information system) ที่รวมเอาแบบจำลองต่างๆและข้อมูลเอาไว้ เป็น ไปเพื่อแก้ไขปัญหาประเภทกึ่งโครงสร้าง (semi-structured problems) และ บางปัญหา ที่ไม่เป็นโครงสร้าง (unstructured problems) โดยมีผู้ใช้งานเข้าไปมีส่วนร่วม
DSS ส่วนมากมักจะมีความสามารถดังแสดงในตารางหน้าถัดไป นอกจากนั้นยังมี ความสามารถในการสร้างแบบจำลองและมีฟังก์ชันพิเศษเพิ่มเติมได้แก่
- การวิเคราะห์ความไว (Sensitivity analysis) เป็นการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อ ทำการเปลี่ยนส่วนใดส่วนหนึ่ง(หรือมากกว่า)จากหลายๆส่วนของแบบจำลอง
- การวิเคราะห์ในเชิง “จะเกิดอะไรขึ้น…ถ้า” (What-if analysis) เป็นการศึกษาผล กระทบที่เกิดขึ้น (เมื่อทำการเปลี่ยนสมมติฐานของ input data) กับผลลัพธ์ที่คาดว่า จะได้รับ
- Goal-seeking analysis เป็นการศึกษาเพื่อค้นหาค่าของอินพุทต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อให้ บรรลุถึงระดับเอาท์พุทที่ต้องการ

ทุกๆ DSS อย่างน้อยต้องมีระบบย่อยที่เรียกว่า data management และ model management ส่วนของ user interface และ end users บางตัวจะมี Knowledge management เพิ่มเข้ามา ตัวอย่างดังรูปหน้าถัดไป ระบบย่อยๆประกอบด้วย
1) ระบบย่อยในการบริหารจัดการข้อมูล (Data management subsystem)
2) ระบบย่อยในการบริหารจัดการแบบจำลอง (Model management subsystem)
3) การเชื่อมต่อกับผู้ใช้ (User interface)
4) ผู้ใช้ (Users)
5) ระบบย่อยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ (Knowledge- based subsystems)

The DSS and its Computing Environment


ส่วนประกอบของ DSS
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่สำคัญ คือ
1. ระบบฐานข้อมูล ( DSS Database )
2. ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์การตัดสินใจ ( DSS Software System )
3. เครื่องมือสนับสนุนการทำงานของระบบ ( DSS Support Tool )

โปรแกรม DSS ที่นิยมใช้
* โปรแกรม Interrelated DSS ได้แก่ โปรแกรมที่ใช้ช่วยในการตัดสินใจของปัญหา
* โปรแกรมการพยากรณ์ หรือ Forecasting ได้แก่โปรแกรมช่วยสนับสนุนการพยากรณ์ต่าง ๆ
* โปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่ การวางแผน การพัฒนายุทธศาสตร์ การโฆษณาที่มีประสิทธิภาพ

What information technologies are available to support managers?

Management Support Systems (MSS)
เทคโนโลยีของ IT ต่างๆหลักๆแล้ว เป็นการออกแบบมาสนับสนุนผู้บริหารทั้งหลาย เช่น ระบบต่างๆ ที่สนับสนุนการตัดสินใจ (decision support systems), ระบบต่างๆที่สนับ สนุนผู้บริหารระดับสูง (executive support systems), เทคโนโลยีกรุ๊ปแวร์ต่างๆ (groupware technologies) และ ระบบอัจฉริยะ (intelligent system) ดูรูปในหน้าถัดไป

The Process of Computer-Based Decision Making

แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนหลัก ๆ คือ:
1) Intelligence
2) Design
3) Choice
4) Implement

Decision Process


The process and phases in decision making


Model ( in decision making )

แบบจำลอง (Model) คือ การนำเสนอแบบง่ายๆ หรือ การสรุปจากควาเป็นจริง
ประโยชน์ของการจำลองแบบในการทำการตัดสินใจ คือ:
- ต้นทุนในการทำการทดลองเสมือน (virtual experimentation) จะต่ำกว่าต้นทุนที่เกิด จากการทดลองในระบบจริง
- แบบจำลองต่างๆยอมให้ simulate เพื่อลดเวลาลง การปฎิบัติงานหลายๆปีสามารถ simulateโดยใช้คอมพิวเตอร์ให้เหลือไม่กี่วินาที
- การปรับเปลี่ยนแบบจำลอง (โดยการเปลี่ยนตัวแปร) ทำได้ง่ายกว่าในระบบจริง
- การใช้แบบจำลองทำให้ผู้จัดการรับมือกับความไม่แน่นอนต่างๆได้ดีขึ้น โดยใช้ “ what- ifs” และ การคำนวณความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดจากการกระทำที่เจาะจง
- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ช่วยให้ทำการวิเคราห์และเปรียบเทียบทางเลือกต่างๆ ได้ง่าย

The process and phases in decision making
Problem structure
การตัดสินใจนั้น จะขึ้นกับโครงสร้างของปัญหาด้วย โดยแยกออกเป็น
- ปัญหาที่มีโครงสร้างสร้างชัดเจน ได้แก่ปัญหาที่เป็นงานที่เป็น routine เป็นปัญหาที่ เกิดซ้ำๆ ปัญหาเหล่านี้มักมีคำตอบเป็นรูปแบบมาตรฐานอยู่แล้ว ดังนั้นการตัดสินใจ จึงเป็นแบบ Structured decisions
- ปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ได้แก่ปัญหาที่ซับซ้อนในเชิงคลุมเครือ ไม่มีคำตอบสำเร็จรูป ที่จัดเตรียมไว้ก่อน ปัญหาเหล่านี้ต้องอาศัยความสามารถของคนมาทำการตัดสินใจใน แบบ Unstructured decisions เช่น การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การว่าจ้างผู้บริหารระดับ สูง การเลือกงานที่ต้องการทำวิจัยในปีหน้า เป็นต้น
- มีปัญหาบางประเภทที่อยู่กึ่งกลางระหว่างแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง เรียก ว่าปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง การตตัดสินใจก็จะเป็นแบบ Semistructured decisions เช่น ปัญหาที่ต้องการคำตอบที่มีโครงสร้างหลายรูปแบบรวมกันผนวกกับการตัดสิน ใจเฉพาะคน เช่น การขึ้นเงินเดือน การกำหนดยอดขาย เป็นต้น

Managers and Decision Making

การบริหารจัดการคือกระบวนการทำให้บรรลุถึงเป้าหมายขององค์กรที่วางไว้ โดยใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่ อันได้แก่ พนักงาน (people) เงิน (money) พลังงาน (energy) วัตถุดิบ (materials) พื้นที่ใช้สอย (space) เวลา (time)
ทรัพยากรต่างๆเหล่านี้ ถูกพิจารณาว่า เป็น อินพุท การบรรลุถึงเป้าหมายจะถูกมองว่า เป็นเอาท์พุทของกระบวนการ
อัตราส่วนระหว่าง อินพุทและเอาท์พุท คือตัวชี้วัดผลิตผลขององค์กร (organization’s productivity)

The Manager’s Job
- เพื่อให้เข้าใจว่า ระบบสารสนเทศจะให้การสนับสนุนแก่ผู้บริหารอย่างไรบ้าง ก็ควร จะทราบงานของผู้บริหารก่อนว่า จะต้องเกี่ยวข้องกับด้านใดบ้าง
- ผู้บริหาร(Manager) มีบทบาทพื้นฐานสามด้านได้แก่ (Mintzberg 1973) :
- บทบาทด้านการประสานงานระหว่างบุคลต่างๆ (Interpersonal roles): เช่น การ แบ่งกลุ่มทำงาน การเป็นผู้นำ
การเป็นผู้ช่วยเหลือ
- บทบาทด้านที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ (Informational roles): เช่น การเฝ้ามอง การ เผยแพร่ การเป็นนักพูด(โฆษก)
- บทบาทด้านที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Decisional roles): เช่น การเป็นเจ้าของ กิจการ การเป็นนักปลุกระดม การเป็น
นักจัดกำลังพล การเป็นนักต่อรอง
- ในอดีตนั้น IT มักจะสนับสนันทางด้านสารสนเทศเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันต้อง สนับสนุนทั้งสามด้าน

Decision Making and Problem Solving

การตัดสินใจ (decision) หมายถึง การเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งใน สองทางเลือก
การตัดสินใจนั้น อาจเป็นงานที่ต้องทำเป็นครั้งคราว หรือ ต่อเนื่อง โดยคนๆเดียว หรือเป็นกลุ่มบุคคลก็ได้
Computerized Decision Aids: จะขึ้นอยู่กับ 4 คำถามต่อไปนี้
1) ทำไมผู้ลบริหารจึงต้องการการสนับสนุนจาก IT
2) งานของผู้บริหารเป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมดได้หรือไม่
3) มีอะไรบ้างที่ IT สมารถให้การสนับสนุนผู้บริหาร
4) สารสนเทศต้องการให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างไร
มาดูคำตอบต่าง ๆ ….

Why Manager Need The Support Of Information Technology ?
- ปัจจัยหลักของการทำการตัดสินใจที่ดี คือ ตรวจสอบและเปรียบเทียบทางเลือกต่างๆที่ สัมพันธ์กัน ยิ่งมีทางเลือกมากเท่าใดก็ยิ่งต้องการความช่วยเหลือของคอมพิวเตอร์ทาง ด้านการค้นหาและการเปรียบเทียบมากขึ้นเท่านั้น ในทางปฎิบัติแล้ว การตัดสินใจมักทำภายใต้ความกดดัน(ด้านเวลา) มักจะพบเห็นบ่อยๆ ว่า เป็นไปได้ยากในการใช้กระบวนการแบบ manual มาค้นหาสารสนเทศที่ต้องการ อย่างรวดเร็วพอเพียงและให้มีประสิทธิผล มันจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการทำการวิเคราะห์ภาพลักษณ์ต่างๆเพื่อทำให้การตัดสินใจได้ดี การวิเคราะห์ข้างต้นจำเป็นต้องใช้แบบจำลอง ผู้ตัดสินใจอาจอยู่ต่างสถานที่กันและมีสารสนเทศที่ต่างกัน การนำสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดมา รวมกันอย่างรวดเร็วและไม่แพงมากนัก มักจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก บ่อยครั้งในการตัดสินใจ ต้องการการพยากรณ์จากองค์กร เช่น ด้านราคา ส่วนแบ่งการตลาด เป็นต้น ดังนั้น การพยากรณ์ที่แม่นยำต้องการเครื่องมือทางสถิติและการวิเคราะห์
การตัดสินใจต้องการข้อมูล แต่จำนวนข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Internet clickstream) และข้อมูลมาจากหลายแหล่ง ดังนั้นจึงต้องทำการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ข้างต้น

BUSINESS INTELLIGENCE (BI)

BI สำคัญยังไงกับโลกปัจจุบัน ? ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และตลอดเวลา เช่นเดียวกันระบบธุรกิจก็มีการแข่งขันกันค่อนข้างรุนแรง และมากขึ้นด้วย จึงเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยว่าการที่องค์กรจะอยู่รอดได้นั้นจะต้องมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัยและทันท่วงที เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและสามารถนำไปวางแผน หรือ โต้ตอบปัญหาเชิงธุรกิจได้ทันต่อเหตุการณ์ ให้กับผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ทางบริษัท ฯ จึงได้ทำการพัฒนาระบบ Business Intelligence ซึ่งเป็นระบบ BI โดยเน้นการบริหารและ วิเคราะห์งานขายเป็นหลัก

Business Intelligence (BI)
เป็นระบบที่ช่วยในการวิเคราะห์ และ การตัดสินใจทางธุรกิจของผู้บริหารเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนขององค์กร ข้อมูลด้านการขาย ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า และดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้บริหารต้องการ
แสดงข้อมูลในรูปแบบของรายงาน กราฟตาราง และภาพกราฟฟิก โดยเป็นการวิเคราะห์ ข้อมูลด้านสถิติ การหาความสัมพันธ์ของข้อมูล หรือการจำลองสถานการณ์ต่างๆ สามารถแสดงข้อมูลเป็นภาพรวม และเจาะลึกเฉพาะส่วนได้ (Drill Down)
เป็นระบบเพื่อนำไปสู่การค้นหาสาเหตุของปัญหาได้ตรงจุด การแก้ไขที่ตรงประเด็น และการวางแผนอนาคตได้ถูกทาง สอดคล้องกับ KPI ขององค์กร BI จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ลดความซ้ำซ้อนในการทำงานทางด้านเอกสาร และลดความผิดพลาดในการรวบรวมข้อมูล ลดเวลาในการรวบรวมข้อมูล รวบรวมเอกสารเพื่อออกรายงานวิเคราะห์การขายแบบต่างๆ
ผู้บริหารมีข้อมูลในการวิเคราะห์การขายเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำและทันท่วงที
องค์กร สามารถทำงานได้อย่างมีระบบ เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานได้ดียิ่งขึ้นสามารถวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real time ย้อนหลังได้ไม่จำกัดปี สามารถเชื่อมต่อกับระบบ Financial And Accounting System ได้อย่างสมบูรณ์


BI Architecture

- Data extraction and Integration : ทำการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น OLAP, ERP, CRM, SCM, legacy & local data stores, the Web และมีการใช้ ETL (extract, transformation, load) ในการทำ data integration

- Data mining, query and analysis tools : เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือต่างๆ

- Enterprise Reporting Systems : การนำเสนอข้อมูลมายัง users โดยผ่าน reporting tools ต่างๆ และ operational application เช่น Enterprise reporting , Enterprise search, scorecards, dash boards, visualization tools

Business Performance Management

การทำ BPM จะช่วยให้การเปรียบเทียบเป้าหมายกับคุณภาพของงานที่ทำได้ เป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว และมีส่วนสำคัญสำหรับการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ โดยการทำ BPM จะมีประสิทธิภาพได้ดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับ BI analysis reporting, queries, dashboards& scorecards

OLTP ; Online Analytical Processing
เป็นการประเมินผลเชิงออนไลน์ เป็น software ที่ทำให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึง และมองลึกเข้าไปในตัวข้อมูล อย่างรวดเร็ว และสามารถดึงข้อมูลออกมาได้ในหลายๆมุมมอง

OLTP Activities
- Generating and answering queries
- Requesting as hoc reports and graphs
- Conducting statistical and other analyses
- Visual presentation
- May include multidimensional analysis ans presentations, executive or enterprise IS, data mining
- Provide capabilities to modeling analysis and visualization
What is OLAP?



Data mining

เป็นกระบวนการในการ extract ข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อค้นหารูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ

Yield from Data mining

- Clustering : ได้รูปแบบของกลุ่มข้อมูล เกิดจากความสัมพันธ์ของข้อมูล
- Classification : เกิดจากการจัดกลุ่มของผู้ใช้เอง ที่มี assumption ถึงความสัมพันธ์ของข้อมูล
- Association : เกิดจากผลสืบเนื่องของ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน
- Sequence discovery : พบรูปแบบหรือลำดับเหตุการณ์ที่มักจะเกิดขึ้น
- Prediction : อาจพบข้อมูลที่มี trends หรือ pattern ที่ทำให้คาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้

Advantage and Disadvantages of Data mining
แม้การทำ data mining จะให้ผลลัพธ์เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ แต่การเตรียมข้อมูล ตลอดจนการอ่านผล และแปลผล สามารถทำได้ยาก จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการแปลและตีความ โดยวิธีทำก็อาจมีความยุ่งยากซับซ้อน

Text Mining
เป็น Application ของ data mining อย่างหนึ่ง ในการค้นหาและจัดรูปแบบ text files ทั้งนี้ การทำ text mining มักทำกับข้อความจำนวนมาก เพื่อหาความสัมพันธ์ที่มีอยู่ของข้อความต่างๆ โดยอาจจะอาศัยหลักการทาง สถิติ หรือการเรียนรู้และการจดจำของเครื่อง

Applications of text mining
- Automatic detection of email spam or phishing through analysis of the document content
- Automatic procession of messages or e-mails to route a message to the most appropriate party to process that message
- Analysis of warranty claims, help desk calls/reports and so on to identify the most common problems and relevant responses

web mining ถือเป็น text mining รูปแบบพิเศษอีกรูปแบบหนึ่งที่การ mining เกิดขึ้นบน website ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถให้กับ website เช่น แนะนำ links ที่เกี่ยวข้อง หรือ แนะนำ new productsได้


Hilight Feature of Business Intelligence (BI)

Dashboards Function
Real-time Dashboards
Gauges
Meter
Trend

Analyses Function
Advance Pivotgrid
Multi-dimensional analysis
Drill Down
Sort and Display Top Rows
Data Filtering
Xml data support

Chart and graph Analysis function
3D Chart Types
2D Chart Types
Design-time Customization

Reports
Report Customization
Report Generator
Scheduler Report
Report Graphing

Alert notification services
Today Alert
Client notify alert
Email alert

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Pervasive Computing

เนื่องจากโลกจะเข้าไปอยู่ในยุคที่อุปกรณ์ต่างๆ มีความสามารถที่จะเชื่อมต่อกับ Internet มาจากแนวโน้มที่ อุปกรณ์ต่างๆ จะมี IP Address ซึ่งจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชีวิตเรามาก ได้ เช่น Smart Home ซึ่งสามารถสั่งการและควบคุม การทำงานต่างๆภายในบ้าน ด้วยโทรศัพท์ เช่น ควบคุมระบบ แสงส่องสว่าง พลังการ น้ำ อุณหภูมิ ความปลอดภัย การติดต่อสื่อสาร และความบันเทิง , Smart Car โดยในอนาคต เราไม่ต้องขับรถด้วยตัวเอง เพราะรถจะขับตนเองโดยอัตโนมัติ , Smart Appliance เช่นการอ่านข่าวผ่านสื่ออิเล็คโทรนิค เสมือนจริง ในกรณีของ หนังสื่อพิมพ์ LG เป็นต้น

ทิศทางของธุรกิจ IT
คือ ผู้ประกอบการต่างพากัน มุ่งหน้าสู่การแข่งขันในธุรกิจ Mobile ทั้งนี้ จะเห็นได้จากตัวอย่างของ 2 บริษัทใหญ่ของงโลก ได้แก่
- Google ที่เริ่มต้นจากการเป็น บริษัทผู้ให้บริการด้าน Search Engine ปัจจุบัน ก็เข้าสู่ธุรกิจ Mobile
- Apple ที่เริ่มต้นจากการให้บริการ Soft ware ปัจจุบัน ก็เข้าสู่ ธุรกิจ Mobile เต็มรูปแบบ
ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มหรือทิศทางของธุรกิจ IT จะเข้ามาสู่การแข่งขันของธุรกิจ Mobile มากยิ่งขึ้น

Wireless Technology in the enterprise

การเข้ามามีบทบาทของ RFID (Radio Frequency Identification ซึ่งเป็นการติดตาม Track คน วัตถุ สิ่งของ ซึ่งในประเทศฮ่องกง ได้มีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับ ห้องสมุด ซึ่ง NIDA ก็จะนำ เทคโนโลยี RFID นี้ มาใช้กับห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเช่นกัน
Wireless Technology in the Enterprise
จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน และมีวิธีการทำงาน ดังนี้
- Tag ซึ่งจะมีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลของวัตถุที่ต้องการจัดเก็บ หลังจากนั้น จะส่งผ่านข้อมูลด้วยRadio wave ไปยัง ส่วนที่ 2 คือ
- RFID Reader ซึ่งจะมีหน้าที่ในการอ่านข้อมูลทั้งหมดที่ถูกจัดเก็บไว้
- Host Computer ทำหน้าที่แสดงผลการทำงาน
RFID Applications เป็นการนำมาใช้มากกับการ Track People , Individual Item and Moving vehicles

L-Commerce (Location Based Services and Commerce)

ในรูปแบบของการ โฆษณา สินค้า โดยการหาตำแหน่งที่ตั้งของผู้ใช้เป็นหลัก เช่น การเดินเข้าในเขตงาน Commart จะมี sms เข้ามายังโทรศัพท์มือถือทันที่ หรือกรณีเดินผ่านร้านกาแฟ ก็จะมี Message Menu กาแฟ หรือ โปรโมชั่นต่างๆ ส่งเข้ามา ซึ่ง ช่องทางของ L-Commerce นี้ เป็นสิ่งที่ Google มองเห็น Model การสร้างการโฆษณา จึงได้มี Android เข้ามามีบทบาทโดยสามารถส่ง โฆษณา ของร้านในเขตพื้นที่ เดียวกับ ที่ผู้ใช้อยู่ในตำแหน่งนั้น ทั้งนี้มีความเชื่อว่า ผู้ที่อยู่ใกล้กับร้าน หรือ สินค้าที่ทำการโฆษณา จะมีโอกาสในการซื้อสินค้าและบริการนั้นๆ มากกว่าลูกค้าที่อยู่ไกล
สาเหตุที่สามารถทำ L-Commerce ได้นั้น เป็นเพราะ เทคโนโลยี GPS ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุตำแหน่งที่ต้องของผู้ใช้บนโลกนี้ ทั้งนี้ ยังมีระบบ สารสนเทศ ทางภูมิศาสตร์ เรียกว่า GIS เช่น Google Map และ Google Earth ซึ่งการใช้งานที่จะมีประโยชน์ ต้องเป็นการใช้งานร่วมกัน ระหว่าง GPS และ GIS
GPS มีการใช้งาน ใน 3 รูปแบบหลัก ได้แก่
1. โทรศัพท์ เพื่อเป็นระบบนำทาง เช่น ในโทรศัพท์ Nokia ใช้ OVI Map และ iPhone ก็มีระบบนำทางของ iPhone เอง
2. อุปกรณ์ GPS โดยตรง เช่น Garmin ,TomTom เป็นต้น
3. ส่วนที่ติดมากับรถยนต์ โดยเฉพาะในรถยนต์ รุ่นระดับ บน เช่น โตโยต้า คัมรี่ เป็นต้น
ในสหรัฐอเมริกา มีความสะดวกสบายเป็นอย่างมากกับรูปแบบการใช้ GPS เช่น www.nextbus.com ซึ่งมี Application นี้บน iPhone ผู้ใช้จะสามารถทราบข้อมูลแบบ Realtime ว่า รถเมล์เมื่อไหร่ จะมาถึง โดยมีการติด GPS บนรถเมล์ เพื่อทราบตำแหน่งโดย ผู้โดยสาร ไม่ต้องเสียเวลารอนาน

M-Commerce ในประเทศไทย

M-Commerce เป็นบริการที่บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจับมือกับร้านค้าและธนาคาร ร่วมกันให้บริการสั่งซื้อของผ่านโทรศัพท์มือถือคล้ายกับการให้บริการ E-Commerce ในตอนนี้ได้แก่ บริการที่ AIS ร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทย และโรงภาพยนต์ของ Major ceneplex ให้บริการสั่งซื้อตั๋วภาพยนตร์ทางมือถือ GSM ได้ ซึ่งลูกค้าสามารถจ่ายเงินได้ด้วยบัตรเครดิตของธนาคารกสิกรไทย บัตร VISA และ Master Card ของทุกธนาคาร โดยผู้ซื้อไม่ต้องมีการแจ้งขอใช้บริการกับธนาคารล่วงหน้า หรือจะเลือกจ่ายค่าตั๋วพร้อมกับค่าใช้โทรศัพท์มือถือก็ได้ ระบบนี้ใช้เทคโนโลยีของ SIM Toolkit มีการทำรายการโดยให้เลือกจากเมนูเป็นหลัก โดยลักษณะของบริการจะคล้ายกับในบริการ Mobile Banking ผ่านอินเทอร์เน็ต ในระบบดังกล่าวผู้ให้บริการจะมีวงจรที่เชื่อมต่อกับธนาคารโดยตรงและมีการเข้ารหัสข้อมูลเช่นกัน เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงินเป็นไปอย่างปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า ส่วนกระบวนการเรียกเก็บเงิน (Settlement) ระหว่างโรงภาพยนตร์และธนาคารก็จะเป็นไปตามระบบปกติ การที่ธนาคารให้บริการรับชำระค่าจองตั๋วนี้ ธนาคารจะได้รับค่าธรรมเนียมจากโรงภาพยนตร์ 3% ในขณะที่ลูกค้าจะเสียค่าโทรศัพท์ในการโทรออกครั้งละ 6 บาท แต่ลูกค้าก็จะได้รับความสะดวกไม่ต้องเสียเวลาเข้าคิวซื้อตั๋ว

Mobile Internet เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้จากโทรศัพท์มือถือทุกที่ทุกเวลา โดยไม่มีค่าบริการรายเดือนและไม่ต้องมี Internet Account พิเศษ ในการเชื่อมต่อสามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารจากทั้งผู้ให้บริการทั่วโลกในอัตราค่าบริการเดียวกัน ใช้บริการต่อเนื่องจาก Internet Site ทั่วไปได้อย่างไม่มีรอยต่อเช่น การอ่าน e-mail การใช้บริการ Personal Information Management การเล่นเกมส์ และอื่นๆ ส่วนกรณีด้าน ธุรกรรมทางการเงินเช่น การซื้อสินค้าขายสินค้าและบริการได้อย่างสะดวกปลอดภัย นอกจากนี้องค์กรและบริษัทต่างๆ สามารถให้บริการข้อมูลภายในองค์กรในระบบ Intranet ผ่านทางอินเทอร์เน็ตบนมือถือและเชื่อมต่อกับระบบปัจจุบันได้อีกด้วย ตัวอย่างบริการ Mobile Internet ได้แก่ บริการ djuice ของ DTAC และบริการ mobileLife INTRANET ใน mPocket 4u ของ AIS เป็นต้น สำหรับตัวอย่างบริการ Mobile Internet สำหรับองค์กรได้แก่ บริการ DTAC Corporate Mail สามารถให้พนักงานในองค์กรต่างๆ สามารถเข้าดูและเช็ค e-mail ที่ใช้ในบริษัทได้อย่างสะดวกสบายบนโทรศัพท์เคลื่อนที่รองรับการใช้ WAP ไม่ว่าบริษัทนั้นจะใช้เมล์เซิร์ฟเวอร์ใดก็ตาม
ที่มา เกียรติคุณ จินตวร ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ ปีที่ 8(2): 2551

รูปแบบการใช้งาน M-Commerce

1. Online stock trading หมายถึง การซื้อขายหุ้นแบบออนไลน์ ที่ดำเนินการซื้อขายกันทั่วโลกอย่าง I-MODE ในญี่ปุ่น และดำเนินการธุรกรรม (E-Trade) กับประเทศต่างๆ ส่วน Dagens Industri ของสวีเดนได้ให้ลูกค้าซื้อขายหุ้นในตลาด Stockholm Exchange และรับข้อมูลทางการเงินด้วย Personal Digital Assistant (PDA) ทำให้สามารถซื้อขายหุ้นจากที่ต่างๆ
2. Mobile Banking หมายถึง ธนาคารออนไลน์ ได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่น ธนาคารซิตี้แบงก์ได้มีบริการ Mobile banking ในสิงคโปร์ ฮ่องกง และอีกหลายประเทศ
3. Micro Payment หมายถึง การใช้จ่ายย่อยเพื่อชำระสินค้าและบริการเช่น ผู้บริโภคในญี่ปุ่นได้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้จ่ายผ่าน Vending machine ส่วนลูกค้าในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียสามารถจ่ายค่าจอดรถ ค่าล้างรถ น้ำมันรถ และการจ่ายค่าเครื่องดื่มจาก Vending machine ในประเทศเยอรมันลูกค้าสามารถจ่ายค่าโดยสารและค่าแท็กซี่ผ่านโทรศัพท์มือถือ
4. Online Gambling หมายถึง การพนันทางออนไลน์เช่นในประเทศฮ่องกงได้มีการใช้ Cell Phone เพื่อการพนันแข่งม้า
5. Ordering and service หมายถึง การสั่งซื้อบริการที่เกี่ยวช้องกับการดาวน์โหลดเพลงเช่น บริษัท Barnes & Noble ให้บริการลูกค้าสำหรับการดาวน์โหลดเพลงผ่านโทรศัพท์มือถือและ PDA
6. Online auctions หมายถึง การประมูลทางออนไลน์เช่นWeb site : QWL.com ในประเทศอังกฤษ ได้ให้ลูกค้าเปิดประมูลสินค้าผ่านเว็บไซต์ และเปิดประมูลโดยผ่าน Cell Phone รวมทั้ง e-Bay
7. Messaging system หมายถึง ระบบข้อความที่ใช้ในการส่งอีเมล์ผ่านทาง Mobile Internet หรือที่ เรียกว่า SMS ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.2000 ได้มีการส่งและรับข้อความทั่วโลกประมาณหนึ่งหมื่นล้านข้อความ และเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในต้น ค.ศ. 2001
8. B2B applications หมายถึง การประยุกต์ใช้งานทาง Business to Business ( B2B ) ด้วยการนำ M-Commerce มาใช้ในการเก็บและประเมินผลข้อมูลเพื่อใช้สำหรับตัดสินใจ โดยพนักงานที่อยู่ห่างไกลสามารถดำเนินธุรกรรมได้เช่น การตรวจสอบระดับสินค้าคงคลัง หรือดำเนินการสั่งซื้อขณะที่กำลังปฏิบัติงานในภาคสนาม

Mobile Commerce

การดำเนินธุรกิจย่อมมีการเปลี่ยนแปลงสู่รูปแบบใหม่ตลอดเวลา เช่นเดียวกันกับพาณิชย กรรมออนไลน์ E-Commerce ที่มีการนำเอาเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือคอมพิวเตอร์พกพา (Personal Digital Assistant : PDA) มาประยุกต์ใช้เพื่อใช้เป็นช่องทางใหม่ ในการซื้อขายจนกลายเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่ที่เรียกว่า M-Commerce (Mobile Commerce) โดยใช้จุดเด่นของโทรศัพท์เคลื่อนที่มีมากกว่าการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายเท่าตัวคือราคาถูก สะดวก และคล่องตัวในการพกพา สะดวกสบายในการเข้าถึงบริการได้ทุกที่และทุกเวลา ส่งผลให้เกิดการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของ Mobile Commerce หรือ M-Commerce เพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ธุรกิจที่ทำการค้าผ่านเว็บไซต์ และผู้ประกอบธุรกิจอื่น ให้ความสนใจ และหันมาดำเนินธุรกิจในการทำธุร กรรมทางการค้าในรูปแบบของ M-Commerce มากยิ่งขึ้น

M–Commerce หมายถึงการทำธุรกรรมใดๆ ด้วยมูลค่าเงินตราที่ถูกชักนำโดยผ่านเครือข่ายการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Durlacher Research, 2000) ดังนั้น M-Commerce จึงเป็นการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางธุรกิจหรือทางการเงินโดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในระบบแนวความคิดของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ (หรือ E-Commerce) ที่ใช้อุปกรณ์พกพาไร้สายเป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อและขายสินค้า การสั่งซื้อสินค้าและบริการ รวมทั้งการรับส่งอีเมล์โดย M-Commerce ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถพกพาไปได้ทุกที่ไม่จำกัดสถานที่และเวลา (Anywhere and Anytime) ทำให้ตลาดการค้าออนไลน์ หรือการทำ ธุรกรรมเชิงพาณิชย์โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นตลาดที่มีศักยภาพ เพราะสะดวกสบาย ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ในการจับจ่าย อีกทั้งคนในสังคมไทยมีความคุ้นเคยกับการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่แล้ว


ขอบเขตของ M-Commerce
ขอบเขตของ M-Commerce ครอบคลุมทั้งการดำเนินธุรกรรม สามารถแบ่งตามความสัมพันธ์ทางการตลาดระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าหรือบริการ ได้ 3 รูปแบบดังนี้

1. แบบธุรกิจกับธุรกิจ (Business-to-Business : B2B )
มักเรียกย่อๆว่าแบบ B2B เป็นรูปแบบการทำธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกัน เข้ามาทำการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการร่วมกันเช่น การซื้อขายสิ้นค้า/บริการโดยใช้โทรศัพท์ เคลื่อนที่โดยผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต โดยผู้ซื้อและผู้ขายที่เป็นผู้ประกอบการทางด้านธุรกิจเพื่อทำความตกลงเจรจาซื้อขายสินค้าบริการกัน

2. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (Business-to-Consumer : B2C)
เป็นรูปแบบของ M-Commerce ที่ผู้ประกอบการจะใช้เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภคจำนวนมากเพื่อให้เข้าถึงได้โดยตรงและไม่ต้องผ่านคนกลางเช่น การส่ง SMS จากผู้ใช้บริการไปยังศูนย์ให้บริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความทายผลฟุตบอล การส่งข้อความตอบคำถามรายการทางโทรทัศน์ ฯลฯ ซึ่งมีการเก็บค่าบริการในอัตราพิเศษ และมีการกำหนดรางวัล ล่อใจในรูปแบบของการชิงโชค

3. แบบผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer-to-Consumer : C2C)
แบบ C2C เป็นรูปแบบของ M-Commerce ที่เน้นการติดต่อซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตเฉพาะผู้บริโภคคนสุดท้าย โดยกรณีนี้ผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าจำนวนมากจะเข้ามาเพื่อทำการติดต่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าหรือบริการต่างๆ ด้วยตนเอง ส่วนใหญ่มักพบเห็นในการซื้อขายสินค้าประเภทมือสอง หรือสินค้าแบบประมูล โดยการฝากข้อความไว้ตามกระดานข่าวหรือปิดประกาศในช่องทางอินเทอร์เน็ตเพื่อประมูลซื้อขายสินค้าได้

การขยายตัวของ M-Commerce
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีระบบ ไร้สายได้ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเกิดการขยายตัวรวดเร็ว และสร้างโอกาสการพัฒนาช่องทางดำเนินธุรกรรมแบบใหม่ โดยผ่านช่องทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดังนั้นการดำเนินธุรกรรมผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ไร้ข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ ทำให้องค์กรทั้งหลายสนใจการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวเช่น การดาวน์โหลดเพลง การจ่ายค่าโดยสารผ่านอุปกรณ์มือถือ หรือการตรวจเช็คสต็อกสินค้าเพื่อดำเนินการสั่งซื้อขณะปฏิบัติการภาคสนาม เป็นต้น แม้แต่ธนาคารชั้นนำแห่งยุโรปเหนือได้นำโปรโตคอลที่แสดงด้วยรูปแบบ HTML, XML และมาตรฐานเว็บที่สามารถแสดงผ่านบนระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อให้บริการกับลูกค้าที่เรียกว่า WAP Banking Service ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี WAP (Wireless Application Protocol) ได้มีบทบาทกับตลาดยุโรปเหนือ ด้วยเหตุนี้ธนาคารหลายแห่งในภูมิภาคยุโรปจึงสนใจลงทุนเทคโนโลยี WAP ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวในการให้บริการด้วยรูปแบบอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง

ช่วงปลาย ค.ศ. 1999 Datamonitor ได้ทำการสำรวจผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุโรป ซึ่งรายงานสรุปว่ามีผู้ใช้บริการราว 133 ล้านคน และใน ค.ศ. 2005ได้มีผู้ประเมินมูลค่าธุรกรรมผ่านช่องทางระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงถึงราวสองล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ที่ใช้ M-Commerce แบบ B2C อย่างไรก็ตามยังมีการโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้สายฟรี (Wi-Fi hotspots) ในสหรัฐอเมริกาเจริญเติบโตเร็วมาก เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาออนไลน์ คาดว่ามีรายได้ประมาณ 170 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ใน ค.ศ. 2005 ที่ผ่านมาเติบโตเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 26 จากรายงานผลการวิจัยของ Jupiter Research ทำให้ทราบว่า ธุรกิจ M-Commerce มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชียมีรายได้จาก M-Commerce ประมาณ 9.4 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ.2005 หรือ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 40 ของรายได้จาก M-commerce ทั่วโลก

วิวัฒนาการของ E-Commerce

M-Commerce จึงจำเป็นต้องทราบวิวัฒนาการของ E-Commerce ด้วย เพื่อจะได้ทราบถึงสาเหตุการเกิด M-Commerce ได้ดีขึ้น วิวัฒนาการของ E-Commerce มี 2 ระยะคือ
1. ระยะแรก การค้าอิเล็กทรอนิกส์เริ่มขึ้นบนโลกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2513 ซึ่งได้เริ่มใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเอฟที (EFT : Electronic Fund Transfer) แต่ในขณะนั้นมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่และสถาบันการเงินเท่านั้นที่ใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาอีกไม่นานก็เกิดระบบการส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีดีไอ (EDI : Electronic Data Interchange) (ภาพที่ 1) ซึ่งสามารถช่วยขยายการส่งข้อมูลจากเดิมที่เป็นข้อมูลทางการเงินอย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลแบบอื่นเพิ่มขึ้นเช่น การส่งข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ผลิต หรือผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีก เป็นต้นหลังจากนั้นก็มีระบบสื่อสารรวมถึงโปรแกรมอื่นๆ เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ระบบที่ใช้ในการซื้อขายหุ้นจนไปถึงระบบที่ช่วยในการสำรองที่พัก ซึ่งเรียกได้ว่าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการสื่อสาร แต่การนำเอาระบบ EDI มาใช้ยังได้รับความนิยมค่อนข้างน้อย เพราะมีค่าใช้ จ่ายในการวางระบบและดำเนินงานสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการที่จะให้คอมพิวเตอร์ของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถรับส่งข้อมูลกันได้อย่างราบรื่น ยิ่งมีฝ่ายที่เกี่ยวข้องมากขึ้นเท่าไร ความยุ่งยากซับซ้อนยิ่งมีมากขึ้นเท่านทำให้ใช้กันเฉพาะในวงการอุตสาหกรรมหรือการค้าเฉพาะทางที่มีผู้เกี่ยวข้องเพียงไม่กี่ฝ่ายเท่านั้นเช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ การจัดส่งสินค้าและนำเข้า/ส่งออกผ่านพิธีศุลกากร การเงินและการธนาคาร

การนำเอาระบบ EDI มาใช้


2. ระยะที่ 2 เมื่อยุคของอินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2533–2542 เมื่อยุคของอินเทอร์เน็ตที่แผ่ขยายอย่างรวดเร็ว แนวคิดเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการค้าระหว่างคอมพิวเตอร์ของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงนั้นก็เกิดขึ้น (ภาพที่ 2) โดยแทนที่จะเป็นเรื่องของธุรกิจขนาดใหญ่อย่างกรณีของระบบ EDI จึงกลายมาเป็นการซื้อขายในระดับของผู้บริโภคทั่วๆไปโดยตรง ใครมีคอมพิวเตอร์ใช้และต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ก็สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับกระบวนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ได้เลยทันที ไม่ต้องมีขั้นตอนยุ่งยากในการประสานงานกันระหว่างแต่ละฝ่ายเหมือนแต่ก่อน
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การค้าอิเล็กทรอนิกส์บนอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้ง่ายกว่าระบบ EDI ก็เพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน โปรแกรมสำหรับเรียกดูข้อมูลหรือ browser (เช่น Internet Explorer) สามารถทำงานได้ค่อนข้างหลากหลายและได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ก็เป็นพื้นฐานของคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว โครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ที่จำเป็นสำหรับการทำงานแบบเดียวกันกับ EDI กลายเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคสามารถหามาใช้และทำความเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ผู้ขายเพียงแค่ตั้งเครื่องสำหรับให้บริการข้อมูลสินค้า และรับคำสั่งซื้อพร้อมกับการรับชำระเงินในรูปของเว็บไซต์ (web site) ก็ดำเนินการค้าได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายถูกมากเมื่อเทียบกับแต่ก่อน
เนื่องจากการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตโดยผ่านการทำธุรกรรมทาง E-Commerce มีข้อจำกัดในด้านความสะดวกในการพกพา ตลอดจนการเข้าถึงบริการในด้านสถานที่และเวลาทำให้มีการนำเอาเทคโนโลยีของโทรศัพท์ เคลื่อนที่มาเป็นช่องทางในการทำธุรกรรมขจัดปัญหาหรือข้อจำกัดดังกล่าวข้างต้นได้


ระบบการซื้อขายผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต


วิวัฒนาการของ M-Commerce
แบ่งออกได้เป็น 3 ยุคคือ
1. ยุคที่เริ่มใช้ SMS (Short Messages Services) ซึ่งนับเป็นยุคแรก พ.ศ. 2541-2542 SMS เป็นจุดเริ่มที่สำคัญในการดำเนินการค้าในลักษณะของ M-Commerce และมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ทางด้านสังคม โดย SMS จะเป็นการส่งข้อมูลสั้นๆ (มีความยาวไม่เกิน 160 ตัวอักษร) ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งในระยะเริ่มแรกการใช้ SMS จะมีวัตถุประสงค์ในการแจ้งเตือนเจ้าของโทรศัพท์มากกว่าจะเป็นการนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น และมีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในต่างประเทศ อย่างเช่นในระหว่าง ค.ศ. 2000 หรือ พ.ศ.2543 ทวีปยุโรปมีการใช้งาน SMS มากถึง 2 พันล้านข้อความต่อเดือน ทำให้การสื่อสารในลักษณะของ SMS เป็นที่แพร่หลาย และนิยมใช้ในการติดต่อสื่อสารมากขึ้น
2. ยุคที่ใช้ WAP (Wireless Application Protocol) พ.ศ.2542-2543 เป็นยุคที่ผู้คนต่างก็มีความจำเป็นในการค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต และการเข้าถึงบริการต่างๆ จากเว็บไซต์ ทำให้ WAP ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อความต้อง การในช่วงปลาย ค.ศ. 1999 ถึงต้น ค.ศ. 2000 ทำให้ผู้ที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถใช้บริการหรือโต้ ตอบผ่านเว็บไซต์ต่างๆได้ รูปแบบของการใช้ WAP จึงเป็นการเข้าใกล้รูปแบบการค้าในลักษณะที่เป็น M-Commerce มากยิ่งขึ้น (ภาพที่ 3) โดยเฉพาะเมื่อธุรกิจที่ดำเนินการค้าอยู่ในปัจจุบันมีการพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับการขายและการให้บริการผ่านเว็บไซต์ รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอุปกรณ์สื่อสารเช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ PDA (Personal Digital Assistant) และอุปกรณ์อื่นๆ อันได้แก่ Walkman กล้องดิจิตอล ฯลฯ จึงทำให้เกิดรูปแบบการดำเนินธุรกิจและบริการใหม่ๆ ในลักษณะของ M-Commerce เกิดขึ้นมากมาย โดย I-Mode เป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จคือมีจำนวนหน้าของผู้เข้ามาใช้บริการถึง 40 ล้านHits ต่อวัน (ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเว็บได้มากถึง 6 พันเว็บ) และ Yahoo ที่ประเทศญี่ปุ่นมีมากถึง 80 ล้านHitsต่อวัน
3. ยุคก้าวเข้าสู่บรอดแบนด์ พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป กำลังเริ่มเข้าสู่ยุคที่สาม นั่นคือการที่เครือข่ายไร้สายกำลังอยู่ในขั้นที่สามารถช่วยให้การรับ-ส่งข้อมูลมีความเร็วที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ GPRS (General Package Radio Service) หรือการให้บริการของผู้ให้บริการรายใหม่ โดยอาศัยเทคโนโลยีของ CDMA (Code Division Multiple Access) การรับ-ส่งข้อมูลในรูปแบบของเสียง (Voice) และข้อมูล (Text) จะเปลี่ยนไปสู่มัลติมีเดีย

Mobile Computing

เนื้อหาสาระมีทั้งสิ้น 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่
1. Wireless WAN (Cellular Natwork) ระบบเครือข่ายไร้สายxxxx
2.Wireless MAN เครือข่ายไร้สาย ระหว่างประเทศ และระดับ ทวีป xxxx
3. Wireless LAN (Wi-Fi) ระบบเครือข่ายไร้สายในระยะ 100 ม,
4. Wireless PAN ระบบเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล ในระยะ 2-3 ฟุต

ที่มาของการเรียนเรื่อง Mobile Computing เนื่องจาก การเข้ามามีบทบาทของ Mobile มากยิ่งขึ้น โดยมองว่า อนาคตของธุรกิจ IT มี ทิศทาง บริษัททั้งบริษัท อาร์ดแวร์ และบริษัทซอฟแวร์ เช่น Apple Google ต่างเข้ามาทำตลา Mobile กันมากยิ่งขึ้น เช่น การเข้ามาของ iPad และตลาด Mobile จะยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และโทรศัพท์ก็กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน
Wireless WAN
-พัฒนาการของ สมาร์ทโฟน เกิดมาจาก ปาล์ม หรือ PDA ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่าง โทรศัพท์กับออร์แกไนเซอร์
Mobile Computing
คือ รูปแบบของการใช้คอมพิวเตอร์ ขณะที่มีการเคลื่อนไหว เป็นเรื่องที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาหลายสิบปี เช่น Laptop เครื่องแรกมีมากว่า 50 ปีแล้ว คือในปี 1968
- PDA เครื่องแรกออกมาใน ปี 1983
สาเหตุที่ไม่เป็นที่นิยม เพราะ
1.ออกสู่ตลาดในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม
2. Software ยังไม่ Support

ยุคของโทรศัทเคบื่อนที่แบ่งได้ 4 ยุค
1. ยุค 1G
-โทรศัพท์ยังเป็นเครื่องมีขนาดใหญ่ หนัก จะใช้ต้อง ยกหาคลื่น
- เป็นสัญญาน อนาลอค ทำได้แต่ เสียง
- นำมาใช้ตั้งแต่ปี 1980 ใช้อย่างต่อเนื่อง จนถึงต้น ปี 1990
- ราคาเครื่องโทรศัพท์แพง และค่าโทร อัตราแพง
- ไม่สามารถใช้สำหรับการรับและส่งข้อมูลได้
2. ยุค 2G
- พัฒนาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980 และเริ่มนำมาใช้ ต้นปี 1990
- เป็นสัญญาณ Digital ซึ่งรับส่งข้อมูลได้
- เป็นที่มาของการเกิด SMS (Short Message Service) รับส่งข้อมูลได้ไม่เกิน 160 ตัวอักษร
ซึ่งการเกิดของระบบ Digital ทำให้มี 2 มาตรฐาน คือ
1.GSM (Global System for Mobile Communication) ซึ่งเป็นเครื่อข่ายที่ AIS ให้บริการ
ข้อดี
จำนวน 2 ใน 3 ของประเทศในโลก ใช้ระบบนี้ โดยเฉพาะในแถบเอเชีย เด่นเรื่องการทำ Roamming ผู้ใช้เคลื่อนย้ายโครงข่ายได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ เพราะเป็นการใช้ระบบ SIM
2. CDMA (Code Division Multiple Access) บริษัทผู้คิดค้น อยู๋ในประเทศ สหรัฐอเมริกา มีการใช้ในทหารมาก่อน
ข้อดี
คุณภาพของสัญญาณดีกว่า ทั้งเสียงและข้อมูล
เป็นเทคโดนโลยีที่พัฒนาไปสู่โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 3
ข้อาเสีย
จำนวนประเทศที่ใช้น้อย เช่น อเมกา ในเอเชีย คือเกาหลีใต้
ข้อจำกัด
ไม่มีควมสมารถทำ Roamming ผู้ใช้ใช้หมายเลจเดิมข้ามโครงข่ายไม่ได้

ยุค 2.5
ในกลางปี 1995 มีการนำโทรศัพท์ที่ ใช้เชื่อมต่อ Internet มีการนำเทคโนโลยีของโทรศัพท์ในยุคที่ สามเข้ามาใช้ เช่น GPRS ระบบนี้ ( General Package Radio Service) และมีการพัฒนาต่อเนื่องมาเป็น EDGE เราสามารถใช้โทรศัพท์ในการเชื่อมต่อ Internet โดยมีความเร็วไม่เกิน 384 KB หรือที่เราใช้อยู่ปัจจุบัน โดยเรา สามารถ เช็ค e-mail , เช็ค Content และใช้ IM ได้จาก EDGE แต่เราไม่สามารถดูทีวีแบบ Real time และการทำ VDO Conference ได้จาก EDGE ข้อจำกัด เรื่องการใช้ Multimedia ที่มีความละเอียดได้ เป็นยุคปัจจุบันของประเทศไทย
ยุค 3G
2001 ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ใช้ โทรศัพท์ 3G ได้ โดย NTT Dokomo
ต่างกับ 2G คือ เรื่องโครงสร้างเครือข่าย 2G ด้าน Service switching network คือต้องมีการสร้างช่องทางก่อนมีการติดต่อสื่อสาร ส่วน 3g โครงสร้างเครือข่ายแบบ Internet แบบ Packet Switching network การรับส่งข้อมูลเป็นแบบ Package จุดเด่น โดยมีความสามารถด้านการเชือมต่อ Internet และ ความเร็วในการเชื่อมต่อ โดยมีความเร็ว 384 กิโลบิต ถึง 2 ล้านกิโลบิต ต่อวินาที ในปัจจุบัน ความเร็วอยู่ที่ 10 เมกกาบิต ต่อวินาที

3G สร้างความแตกต่างด้าน Application ที่สามารถสร้าง Application On top บน 3G ได้ เช่น การสร้าง VDO Conference การดูทีวี การทำธุรกรรม การช็อปปิ้ง เป็นต้น
ในระบบ 3G มี 2 มาตรฐาน ได้แก่
1.WCDMA (Wireland xxxxxx) หรือ UMTS ซึ่งบริษัทที่ใช้ ระบบ GSM ใน 2G จะใช้ระบบนี้
2.CDMA 2000
ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ระบบ 3G ได้เฉพาะบางพื้นที่ เท่านั้น และใช้ได้กับโทรศัพท์บางรุ่น เช่น iPhone
ยุค 4G
-Japan ได้มีการ ใช้ 4G เมื่อ 2 เดือนที่แล้ว ซึ่งถือเป็นประเทศแรกในโลก
-เป็นการพัฒนาต่อจาก 3G โดยเป็นยุคที่โทรศัพท์ เป็นแบบ IP Based คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่จะมี IP Address
- ใช้รูปแบบ IT Packet ในการนำส่ง สัญญาณ
- ความเร็วจะมากถึงระดับ 1 G Bite กิโลบิตต่อวินาที
- เหมาะกับสื่อี่มีความละเอียดสูงมาก เช่น High Definition
- มีการใช้เทคโนโลยี Software Define Radio คือ Software จะเป็นตัวกำหนดว่า Mobile นี้จะใช้เครือข่าย อะไร เช่น ถ้าเข้ามาในเครือข่าย wifi โทรศัพท์ ก็จะใช้เครือข่าย wifi Voice Over IP เหมือน Skype ถ้าอยู่ในเครื่อข่าย WiMax Mobile นี้ จะใช้สัญญาณ WiMax ถ้าอยู่ในเครือข่าย Cellular Network โทรศัพท์จะใช้ ระบบ 4G
LTE (Long Term Evolution ) และ WiMax เป็นมาตรฐานของระบบ 4G
ITU ตั้งเป้าว่า ระบบ 4G จะเริ่มให้บริการทั่วโลกระหว่างปี 2012 – 2015
ระบบการจัดการ และ ผังการบริหารจัดการ ระบบโทรคมนาคมของไทย

การใช้บริการด้าน Mobile Computing Services นั้น เป็นการให้บริการแบบ Non Voice ซึ่งมีทั้ง SMS (Short Message Service) และ EMS (Enhanced Messaging Service) แต่ไม่มีแล้วเนื่องจากปัจจุบัน ถูกแทนที่โดย MMS (Multimedia Messaging Service)
เปรีบเทียบการใช้บริการระหว่างการใช้บริการแบบ Voice และ Non Voice
ปัจจุบันมีการใช้บริการแบบ Voice มากกว่า แต่ในอนาคต จาก ตัวชี้วัดการการสร้างรายได้ ของบริษัทผู้ให้บริการเลขหมาย โดย ARPU (Average Revenue Per Users) จะมีแนวโน้ม ลดลง เนื่องจาก การให้บริการแบบ Voice ที่มากนี้ เกิด Price War ( สงครามราคา) ขึ้นเนื่องจากไม่สามารถสร้างความแตกต่างได้ แต่การเข้ามาของ 3G เป็นตัวที่จะเข้ามาเปลี่ยน รูปแบบ ให้มีการใช้บริการแบบ Non Voice มากยิ่งขึ้น
Wireless MAN
- WiMax เป็นระบบเครือข่ายไร้สาย ที่ให้สัญญาณในพื้นที่ 50 กม. ซึ่งเหมาะกับการใช้ Internet แบบ นั่งประจำที่มากกว่าการเคลื่อนไหว โดยจะเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่ง กับการกระจายความเจริญสู่ชนบทเนื่องจากมี พื้นที่ครอบคลุมกว้าง ด้วยความเร็ว 75 กิโลบิตต่อวินาที และยังเป็น มาตรฐานในการใช้ในระบบ 4G ด้วย
เคยมีการ ทดลอง ระบบ WiMax ในกรุงเทพ ที่ พารากอน ปรากฎว่า ใช้ได้ในรัศมีเพียง 2 กม. เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ที่มีตึกสูงล้อมรอบ

WiMax เป็นคลื่นความถี่ที่ต้องได้รับอนุญาตจากการดำเนินงาน โดย คลื่นความถี่ มี 2 แบบ คือ
- คลื่นความถี่ที่ต้องมีใบอนุญาตจาก กทช. ได้แก่ WiMax และ 3G
- คลื่นความถี่ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาต เช่น Infrared , You Tube , RFID etc.
ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ที่ผ่านมา มีการหาเสียงว่า จะนำเอาระบบ WiMax มาใช้ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะว่ายังไม่มีใบอนุญาต จาก กทช.
Wireless LAN
เป็นระบบสัญญาณไร้สาย ขนาดเล็ก ในระยะพื้นที่ ไม่เกิน 100 ม. เช่น Wi Fi ซึ่ง มี การส่งสัญญาณ Inter ผ่านทาง Access Point มี 4 มาตรฐาน ได้แก่ 802.11b , 802.11a , 802.11g และ 802.11n
Wi –Fi สร้างความยืดหยุ่ยให้องค์กรมาก เนื่องจากการให้บริการครอบคลุม มากกว่า ระบบมีสาย แต่ก็ยังมีปัญหาบ้าง ได้แก่
1. ความสามารถในการทำ Roaming จากการย้ายสถานที่ใหม่ ต้องทำการ log-in ใหม่ ทุกครั้งไป และความเร็ว จะลดลง ถ้าระหว่างการใช้งานมีการเคลื่อนไหว
2. ระบบความปลอดภัย เนื่องจากการไหลของข้อมูล ในระยะ ที่สามารถ รับสัญญาณได้ ทั้งนี้ องค์กรที่ใช้บริการ Wi-Fi ยังให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการใช้ต่ำ
3. ต้นทุน แม้ว่าจะมีต้นทุนที่ต่ำ แต่คิดว่า บางที ควรจะให้บริการ ฟรี หรือไม่
4. การดูดข้อมูล จากเครื่อง Computer และ Mobile โดยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผ่านทางสัญญาณ Wi-Fi ได้ในทันที แม้เทคโนโลยีนี้จะมีราคาสูง แต่สามารถปฎิบัติงานได้ง่าย สะดวก โดยเฉพาะถ้าข้อมูลนั้น เป็นของคู่แข่ง ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาล

Emerging Computing Environment

Utility computing: พลังในการคำนวณและความสามารถในการเก็บข้อมูลแบบไม่มี ขอบเขตจำกัด (เหมือนกับการให้บริกาของไฟฟ้าและประปา) ทำให้สามารถรองรับ ความต้องการจาก virtual utilities ได้ทั้งหมด
Subscription computing: Utility computing ชนิดหนึ่งที่วางส่วนต่างๆ ซึ่งอยู่บน computing platform เดียวกัน เอาไว้ด้วยกัน (เมื่อในเชิงการให้บริการต่าง ๆ) แทนที่ จะเป็นการรวบรวมในสิ่งที่แยกย่อยที่แยกกันซื้อมา
Grid computing: การใช้การเชื่อมต่อของเน็ตเวิร์กต่าง ๆ เพื่อนำ unused processing cyclesของคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ มาใช้งาน เพื่อเป็นการเพิ่มความสามารถในการคำ นวณให้สูงขึ้น
Pervasive computing: การคำนวณต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวท่าน (มองไม่เห็น) ที่เกิด จากการฝังตัวชองอุปกรณ์เหล่านี้อยู่ในเครื่องใช้ต่างๆ รอบ ๆ ตัวเรา
Web services: โมดูลต่าง ๆ ของซอฟท์แวร์ทางด้านกระบวนการทางธุรกิจทั่วๆไป ที่จัดทำไว้ก่อนแล้ว(prefabricated) แล้วส่งผ่านทางอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้สามารถ เลือกโมดูลต่าง ๆ แล้วนำมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ งานอยู่ ทำให้ระบบที่แตกต่างกันใช้ข้อมูลและบริการต่าง ๆ ร่วมกันได้

Web-Based Systems (Information Architecture มองในเชิงระบบ)

ระบบเวบเบสด์ (Web based systems) หมายถึง การประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ หรือ การบริการที่บรรจุอยู่ในเซิฟเวอร์ถูกเรียกใช้งานผ่านทาง web browser หนึ่ง ๆ และ สามารถเข้าถึงจากที่ใดก็ได้โดยอาศัยเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต (Internet (“ the Net”)) หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมทั่ว โลก – เป็นเน็ตเวิร์คหลักของเน็นเวิร์คต่าง ๆ; เป็นสาธารณะ ใช้งานร่วมกันและ สามารถติดต่อกับประชาชนทั่วโลกได้ด้วยตัวของมันเอง
Information Superhighway หมายถึง โครงข่ายเน็ตเวิร์คที่ใช้ใยแก้วนำแสง (fiber-optic- based network) และ wireless infrastructure ที่จะเชื่อมต่อผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ในประเทศหนึ่ง ๆ เข้าด้วยกัน

World Wide Web
เป็นแอพพลิเคชันตัวหนึ่งที่ใช้เป็นฟังก์ชันสำหรับการส่งผ่านของอินเตอร์เน็ต; โดย มีมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วไปในการ storing, retrieving formatting และ displaying information ผ่านทาง client/server architecture
Intranet
เป็นโครงข่ายภายในองค์กรหนึ่ง ๆ ที่มักใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ของ web เช่น เบราเซอร์ (browser) และ อินเตอร์เน็ตโปรโตคอล มันจะถูกแยกออกจากอินเตอร์ เน็ตโดย security gateway เช่น firewall เป็นต้น
Extranet
โครงข่ายที่มีการรักษาความปลอดภัยหนึ่ง ๆ ที่เชื่อมต่ออินทราเน็ตหลาย ๆ วงเข้า ด้วยกันโดยอาศัยอินเตอร์เน็ต โดยทั่วไปแล้ว มันจะยอมให้องค์กรสององค์กร หรือ มากกว่าสื่อสารกัน ร่วมมือกัน เมื่อมองในแง่ของการควบคุม

Web sites ที่ทำตัวเป็น gateway เข้าสู่สารสนเทศขององค์กรจากการ access จากจุด ๆ หนึ่ง มันจะสรุปสารสนเทศและเนื้อความจากหลาย ๆ แฟ้มข้อมูล แล้วแสดงขึ้น มาให้ผู้ใช้ดู
Corporate portals ยังถูกนำมาใช้ในแง่ของการใช้เป็นสารสนเทศส่วนตัวสำหรับ ลูกจ้าง หรือ ลูกค้า
Intranets และ Extranets มักถูกนำมารวมอยู่กับ corporate portal และ สามารถเข้า ถึงได้โดยผ่านทาง corporate portal เช่นกัน

Web-Based E-Commerce Systems
Electronic Storefront: Web (ที่มีความทัดเทียมกับ showroom หรือ physical store ที่เข้าไปซื้อของได้) ที่สามารถทำธุรกรรมผ่านทาง e-business นั่นคือสามารถแสดง และ/หรือ ขายสินค้าได้
Electronic market: ความสามารถของโครงข่ายหนึ่ง ๆ ในการตอบโต้ และมีความ สัมพันธ์อยู่บน การแลกเปลี่ยน สารสนเทศ การให้บริการเกี่ยวกับสินค้าต่าง ๆ และ การชำระเงิน
Electronic exchange: Web based public electronic market หนึ่ง ๆ ซึ่งผู้ซื้อหลาย ๆ ราย และ ผู้ขายหลาย ๆ รายสามารถตอบโต้กันได้ในเชิงอิเล็กทรอนิคส์
Mobile commerce: การซื้อ ขาย สินค้าและบริการต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมของการ ใช้อุปกรณ์ไร้สาย
Location based commerce: การทำธุรกรรมแบบ M–commerce โดยมีเป้าหมายอยู่ ลูกค้าหลาย ๆ รายในพื้นที่ต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นมา และอยู่ในเวลาที่กำหนดด้วย
Enterprise Web: Web application แบบเปิดสำหรับการบริหารและส่งข้อมูล โดย การรวมบริการ(service)จาก different vendors ภายใต้ technology layer เดียวกัน อันเป็นการขยาย platform และ business systems.

แนวความคิดของ Electronic Storefront รูปแรกจะเป็น กระบวน การทำธุรกิจที่มีร้ายขายของ (Store) ที่เป็นตึก มีโครงสร้างจริงทางกาย ภาพ (ที่เรียกว่า Brick-and-Mortar นั่นเอง) รูปต่อไป เป็นโครงสร้างทาง H/W และ S/W (กลายเป็น Click-and-Mortar)

รูปนี้แสดงถึง กระบวนการค้าขายแบบปกติที่มีร้านค้าหรือโชว์รูม แล้วลูกค้าเดินเข้ามาซื้อของ


รูปนี้แสดงถึง โครงสร้างทางฮาร์ดแวร์ที่จะทำ Electronic Storefront เข้ามาแทนโชว์รูม


รูปนี้แสดงถึง โครงสร้างทางซอฟท์แวร์ที่จะทำ Electronic Storefront

Information Systems Infrastructure and Architecture

Information Technology Infrastructure
โครงสร้างของ IT จะประกอบด้วย:
สิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพต่าง ๆ ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ IT การให้บริการ ด้านต่าง ๆ ของ IT, และ การบริหารด้าน IT ที่สนับสนุนการปฏิบัติงานทั่วทั้งองค์กร
องค์หลัก ๆ IT Infrastructure ได้แก่ เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ 1) ด้านฮาร์ดแวร์ 2)ซอฟท์แวร์ 3) สิ่งอำนวยความสะด้วยในด้านโครงข่ายและการสื่อสาร 4) ฐานข้อมูล 5)บุคคลผู้ทำการบริหารจัดการสารสนเทศ และ รวมไปถึง การบริการด้าน IT ประกอบ ด้วย การพัฒนาระบบบริหารข้อมูล และ การรักษาความ ปลอดภัยในส่วนที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนั้น IT Infrastructure ยังประกอบด้วยทรัพยากรต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น รวมไปถึง การประ กอบเข้าด้วยกัน การทำงานร่วมกัน การจัดทำเอกสารต่าง ๆ การดูแลรักษา และ การจัดการ

Information Infrastructure (สรุปได้ดังรูป)
1) Hardware
2) Software
3) Networks & communication facilities
4) Databases
5) IS personnel

สถาปัตยกรรมของ IT (Information technology architecture) หมายถึง แผนที่หรือ แบบแผนระดับสูงหนึ่ง ๆ ที่แสดงทรัพยากรต่างๆ เกี่ยวข้องกับสารสนเทศในองค์กรหนึ่ง ๆ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงแนวทางของการปฏิบัติงานในปัจจุบัน และเป็นพิมพ์เขียว (blueprint)ของทิศทางที่จะมุ่งไปในอนาคต เพื่อให้มั่นใจได้ว่า โครงสร้างของ IT ในองค์การนั้น ๆ สามารถรองรับกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทได้ ในการจัดเตรียม IT architecture ผู้ออกแบบจะต้องมีสารสนเทศอยู่ในมือสองส่วน ได้แก่:
- ธุรกิจนั้นต้องการสารสนเทศอะไร หมายถึง วัตถุประสงค์ต่างๆ ปัญหาต่าง ๆ ของ องค์กร รวมถึงการนำ IT เข้าไปมีส่วนร่วม (สนับสนุน)
- IT infrastructure ที่มีอยู่แล้ว ถูกวางแผนเอาไว้แล้ว และ การประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ ในองค์กร มีอะไรบ้าง สารสนเทศในส่วนนี้รวมไปถึง ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตด้วย

- เทอม “Information Technology หรือ IT” บางครั้งมันสร้างความสับสนให้กับเรา เหมือนกัน ในเอกสารการสอนนี้ เราจะใช้ในความหมายกว้าง ๆ ดังนี้
- IT หมายถึง การรวบรวมทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศต่างๆ ในองค์กรหนึ่งๆ ผู้ใช้งานต่างๆ และ การบริหารสิ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งนี้ รวมถึง โครงสร้างของ IT และ ระบบสารสนเทศอื่น ๆ ทั้งหมดในองค์กรนั้น ๆ
โดยทั่วไปแล้ว มักจะใช้สลับไปมาระหว่างคำว่า “information system”

Information Architecture According to Computing Paradigms (Environments) (มองในเชิงของฮาร์ดแวร์)
Computing Environment หมายถึงวิธีการซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ขององค์กร (hardware, software, และ communications technology) ถูกจัดแบ่งและรวมกลุ่มเข้า ด้วยกัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีที่สุด (optimal efficiency and effectiveness)
1) Mainframe Environment มีใช้น้อยมากขอข้ามไป
2) PC Environment
PC-LANs
Wireless LANs (WLAN)
3) Distribution Computing หมายถึง สถาปัตยกรรมในการคำนวณที่แบ่งงานที่ต้อง ประมวลให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ สองเครื่องหรือมากกว่าทำงานร่วมกัน โดยผ่าน ทางการเชื่อมต่อของโครงข่ายหนึ่ง ๆ บางทีมักเรียกว่า การประมวลผลแบบกระจาย (distributed processing)
ก) Client / server architecture
ประเภทหนึ่งของ distributed architecture ซึ่งแบ่ง distributed computing units ออกเป็นสองรูปแบบหลัก ๆ คือ ไคลเอ้นท์ (client) และ เซิร์ฟเวอร์ (server) เชื่อมต่อ เข้าด้วยกันโดยโครงข่ายหนึ่ง ๆ
- ไคลเอ้นท์ (Client) คือ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง (เช่น PC ที่ต่ออยู่กับโครงข่ายหนึ่ง) ที่ใช้สำหรับติดต่อ(access) กับทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันผ่านโครงข่าย (shared network resources)
- เซิร์ฟเวอร์ (Server) คือ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ต่ออยู่กับโครงข่ายแบบไคลเอ้นท์ / เซิร์ฟเวอร์วงหนึ่ง และให้บริการไคลเอ้นท์ต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ
ข) Enterprise wide computing หมายถึง Computing environment ที่ซึ่งแต่ละ client/ server architecture ถูกใช้ทั่วทั้งองค์กร
ค) Legacy system: ระบบแบบเก่าซึ่งใช้จัดการกับการดำเนินธุรกรรมที่มีอยู่มากมายขององค์กร โดยถือว่าเป็นศูนย์กลางของการทำธุรกิจหนึ่ง ๆ
ง) เพียร์-ทู-เพียร์ (Peer- to – Peer (P2P)) หมายถึง distribute computing network อันหนึ่งซึ่งแต่ละ client/server computer ใช้แฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกัน (shares files) หรือ ใช้ computer resources directory ร่วมกับส่วนอื่น ๆ แต่จะต้องไม่ทำตัวเป็นตัว กลางการให้บริการทั้งหมด (central service) (เหมือนกับ traditional client/ server architecture).

Information Technologies: Concepts Types and IT Support

Supply chain
ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ขององค์กรหนึ่ง ๆ อธิบายถึงการไหลของวัตถุดิบต่าง ๆ ข้อมูลทางการเงิน และ การบริการต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ขายวัตถุดิบทั้งหลายมาจน ถึงโรงงาน และ จากโกดังเก็บสินค้า (warehouse) ไปจนถึงลูกค้าท้ายสุด (end customer) และยังรวมถึง องค์กรและกระบวนการที่สร้างผลิตภัณฑ์ สารสนเทศ และ การบริการต่าง ๆ ที่ส่งไปยัง end customer ด้วย
Supply Chain แบ่งได้เป็นสามส่วน คือ
1) Upstream supply chain การดำเนินงานขององค์กรตั้งแต่ First Tier ออกไป ส่วนมากคือ procurement
2) Internal supply chain คือ การดำเนินงานภายในองค์เพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบให้เป็นสินค้า ได้แก่ production management, manufacturing และ inventory control
3) Downstream supply chain การดำเนินงานในการกระจายสินค้า การจัดเก็บ การขนส่ง และ การให้บริการหลังการขาย
นอกจาก IT จะต้องให้การสนับสนุนทั้งสามกรณีข้างต้นแล้ว ยังต้องรวมถึงการบริหารจัดการด้าน Supply Chain อีกด้วย ผ่านทางซอฟท์แวร์หลัก ๆ 2 ประเภทซึ่งเป็นคำตอบของการบริหารจัดการกับ การดำเนินการของห่วงโซ่อุปทาน ตัวแรกก็คือ enterprise resource planning ( ERP), และตัวที่สองก็คือ Supply Chain Management (SCM)

Inter-Organizational Systems (IOS)

- IOS เป็นระบบที่เชื่อมต่อองค์สององค์กรหรือมากกว่าเข้าด้วยกัน ถือเป็นส่วนกลางที่เชื่อมพันธมิตรทางธุรกิจเข้าด้วยกันและมีบทบาทที่สำคัญใน e-commerce เช่น สนับสนุนในด้านการบริหารจัดการเรื่อง supply chain
- First type of IT system ถูกพัฒนาขึ้นมเมื่อ 1980 เพื่อปรับปรุงการสื่อสารระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจคือ electronic data interchange (EDI)
- Web-based systems (many using XML) เป็นตัวช่วยส่ง business applications ผ่านทาง Internet โดยการใช้ browsers และ Internet ทำให้คนต่างองค์กรกันสามารถสื่อสาร ทำงานร่วมกัน เข้าถึงข้อมูลมากมายได้

ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนกลุ่มพนักงาน

เมื่อทราบถึงการจัดกลุ่มตามระดับชั้นแล้ว มาดูว่าแต่ละกลุ่มต้องการระบบสารสนเทศอะไรมาสนับสนุนบ้าง ระบบสารสนเทศเหล่านี้ได้แก่
1) Transaction Processing System (TPS)
- TPS ใช้กับงานประจำที่เป็นแบบอัตโนมัติและงานแบบซ้ำ ๆ งานเหล่านี้มีความ สำคัญต่อการดำเนินการขององค์กรเป็นอย่างมาก - - ตัวอย่างเช่น การจัดเตรียมการ จ่ายเงินเดือน ส่งใบเก็บเงินไปยังลูกค้า Point-of-Sale และ การดำเนินงานในแวร์ เฮาส์ (Warehouse)
- ข้อมูลที่ถูกรวบรวมจากงานข้างต้นจะเป็นข้อมูลสนับสนุนในส่วนของระบบ MIS และ DSS ที่ถูกใช้โดยผู้บริหารระดับกลาง (Middle Management)
- การรวบรวมข้อมูลจะใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์จะถูกใช้ ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องสายโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain)
- กล่าวโดยสรุป จุดมุ่งหมายหลักก็คือ ใช้ทำรายการทางธุรกรรมต่าง ๆ (transactions) และ เก็บรวบรวมข้อมูล
2) Management Information Systems (MIS)
- ระบบเหล่านี้เป็นการ เข้าถึง จัดรูปแบบ สรุปผล และ แสดงสารสนเทศเพื่อสนับ สนุนกระบวนการตัดสินใจตามฟังก์ชันของพื้นที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง MIS จะเกี่ยว พันกับผู้บริหารระดับกลาง ที่ใช้ MIS ในการทำรายงานที่ต้องสร้างขึ้นมาเป็นประจำ เช่น รายชื่อพนักงานรายวัน จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน หรือ ค่าใช้จ่ายรายเดือน เมื่อ เทียบกับตัวเงินที่มีอยู่ เป็นต้น
- ทั่ว ๆ ไปจะนำมาใช้ใน Replenishment, Pricing Analysis (Markdowns) และ Sales Management
- รองรับการตัดสินใจปัญหาแบบมีโครงสร้าง
- จุดมุ่งหมายหลักคือประมวลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
3) Decision Support Systems (DSS)
- ระบบเหล่านี้รองรับการตัดสินใจที่ซับซ้อนและไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นประจำ (complex non-routine)
- จุดมุ่งหมายหลักคือประมวลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
- ระบบ DSS มักถูกใช้โดย tactical level management เพื่อช่วยในการตัดสินใจ และ “การวิเคราะห์ในเชิง จะเกิดอะไรขึ้นถ้า (what-if analysis)” ซึ่งเป็นปัญหาแบบกึ่ง โครงสร้าง
- ระบบสารสนเทศชนิดนี้ มิได้ให้คำตอบเพียงอย่างเดียว แต่ยังให้สารสนเทศที่เป็น ทางเลือกด้วย
- บางวิธีการของ DSS
Mathematical Modeling Simulation
Queries What-If (OLAP-Cubes)
Datamining
4) Intelligent Support Systems (ISS)
- เน้นไปที่ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence (AI)) ซึ่งช่วยแก้ปัญหาในแบบ อัจฉริยะ (Intelligence)
- รูปแบบหนึ่งของการประยุกต์ใช้ AI คือ ระบบผู้ชำนาญการ (Expert System; ES) ทำหน้าที่เก็บองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญแล้วป้อนไปยังผู้ที่ยังไม่เก่งเพื่อช่วยแก้ปัญหา ดังนั้นมันจึงถูกนำมาใช้แก้ปัญหาที่ยุ่งยาก หรือ กินเวลานาน
- ระบบเหล่านี้จะแตกต่างไปจาก TPS (ทำตัวเป็นศูนย์กลางของข้อมูล) MIS และ DSS (มุ่งเน้นไปที่การประมวลข้อมูล) โดยผู้ใช้ DSS จะตัดสินใจบนสารสนเทศที่สร้าง ขึ้นจากระบบ เมื่อเปรียบเทียบกับ ES ระบบจะให้คำแนะนำในการตัดสินใจบน พื้นฐานของความชำนาญและองค์ความรู้ที่ใส่ลงไปในระบบ (built-in expertise and knowledge)
5) Executive Support Systems (ESS)
ระบบ ESS หรือ Enterprise Information Systems (EIS) แบบเดิม สร้างขึ้นมาเพื่อ สนับสนุน Senior management นอกจากนั้นยังขยายไปสนับสนุนผู้บริหารอื่น ๆ ในองค์กรด้วย
ในระดับ senior management level มันสนับสนุนการดำเนินการวางกลยุทธ์ ซึ่ง เกี่ยงข้องกับสถานะการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา

6) Office Automation Systems (OAS)

- ระบบสำนักงานอัตโนมัติหมายถึง การสื่อสารแบบอิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ใน สำนักงาน รวมถึง word processing systems, document management systems และ desktop publishing systems
- ระบบ OAS ถูกใช้กับพนักงานธุรการที่ต้องทำงานสนับสนุนผู้บริหารทั้งหลายเป็น ส่วนมาก ใครก็ตามในกลุ่มนี้ ที่ทำหน้าที่จัดการ เผยแพร่สารสนเทศ มักจะเรียกว่า data workers.
7) Knowledge Management Systems (KMS)
- พนักงานระดับให้การสนับสนุนกลุ่มหนึ่ง อยู่ระหว่าง Top กับ middle กลุ่มนี้จะ เป็นพนักงานมืออาชีพ เช่น นักวิเคราะห์การเงินและการตลาดทำหน้าที่เป็นผู้ช่วย ให้คำแนะนำทั้งระดับ top และ middle management
- พนักงานกลุ่มนี้มีหน้าที่ค้นหาหรือพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ (External Content) เพื่อ ป้อนให้กับองค์กร และ รวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในองค์กร (Internal Content)
- ระบบ KMS สนับสนุนพนักงานชำนาญการเหล่านี้ ในการจัดหาตั้งแต่ Internet search engines และ expert systems ไปจนถึง Web-based computer-aided design และ sophisticated data management systems

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

How IT Supports Organizational Activities

องค์กรโดยทั่วไปจะจัดรูปแบบองค์กรในแบบลำดับชั้น โดยเริ่มจากจากระดับชั้น ของพนักงานธุรการ(Clerical worker)และพนักงานสำนักงาน(office worker) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด จากนั้นเป็นระดับปฏิบัติการ (operational layer) ระดับบริหาร (managerial layer) ระดับ พนักงานผู้ชำนาญ (knowledge worker) และสุดท้ายคือ ระดับกำหนดกลยุทธ์ (strategic layer) ดังนั้น ระบบสารสนเทศที่มีการจัดแบบนี้จะ มุ่งเน้นไปเพื่อสนับสนุนแต่ละระดับ(ของพนักงาน)ในองค์กรนั้น ๆ
เมื่อเทียบกับแบบที่ผ่านมา จะเป็นการสนับสนุนในเชิงฟังก์ชันของแต่ละแผนก เช่น ฝ่ายบัญชี ก็จะรวมทุกคนในแผนกนั้นตั้งแต่พนักงานป้อนข้อมูลไปจนถึงผู้บริหาร ส่วนในกรณีการแบ่งตามระดับนั้น จะเป็นการสนับสนุนกลุ่มพนักงานเป็นกลุ่ม ๆ ไป เช่น กลุ่มผู้บริหาร (รวมผู้บริหารทุกคน ไม่ว่าจะเป็นแผนกใดก็ตาม) เป็นต้น

The Clerical Level and Office Level
พนักงานธุรการประกอบด้วยลูกจ้างจำนวนมากหลายระดับชั้น ทำหน้าที่สนับสนุน ผู้บริหารต่างๆในทุกระดับขั้นในบริษัท ในกลุ่มพนักงานธุรการเหล่านี้ ถ้าเขามีหน้า ใช้ หรือ จัดเตรียม หรือ เผยแพร่ข้อมูล จะถูกเรียกว่า data worker พนักงานเหล่านี้ ประกอบด้วยพนักงานบัญชีต่างๆ เลขานุการที่ใช้โปรแกรมประเภท word processors, electronic file clerks และ insurance claim processors.
The Operational Level
ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ หรือ first- line managers จะยุ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของ องค์กรวันต่อวัน (ลักษณะงานเหมือนๆกันทุกวัน) ทำการตัดสินใจในงานที่ทำเป็น ประจำ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในรูปแบบทั่ว ๆ ไป เช่น การวางแผนระยะสั้น การปรับเปลี่ยนองค์กรและการควบคุมการปฏิบัติงาน

ถ้าเราแบ่งให้เป็นกลุ่มตามการดำเนินงาน จะแบ่งได้เป็น
ก) Operational Activities เป็นการดำเนินงานแบบรายวันในองค์กร เช่น การมอบหมายงาน เป็นต้น IS ที่เกี่ยวข้องหลัก ๆ คือ TPS, MISs และ Mobile systems ระบบจะถูกใช้โดย Supervisors (first-line managers), operators และ clerical employees
ข) Managerial Activities หรือ บางทีเรียก tactical activities หรือ tactical decisions ถูกใช้โดย middle-management เช่น การวางแผน การจัดองค์กร การควบคุม ในระยะสั้น IS ที่เกี่ยวข้องหลัก ๆ คือ MIS
ค) Strategic Activities เป็นการดำเนินงานในเชิงการวางแผนระยะยาว นอกจากนั้น ยังช่วยทางด้าน การสนองตอบเชิงกลยุทธ์ และ การเริ่มต้นเพื่อทำการเปลี่ยนแปลง (initiator of change)

วิวัฒนาการของระบบสนับสนุนต่าง ๆ

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในเชิงธุรกิจอันแรก(กลางปี 1950) ก็คือนำมาช่วยงานที่ ทำซ้ำ ๆ ซึ่งก็คืองานคำนวณทางด้านธุรกรรมที่มีจำนวนมาก คอมพิวเตอร์จะช่วยรีด เอาตัวเลขออกมาในรูปของการสรุปผลในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ขององค์กร ทั้งนี้ รวมถึงข้อมูลฝ่ายบัญชี การเงิน และฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ระบบที่กล่าวมาข้างต้น เรียกรวมกันกว้าง ๆ ว่า Transaction Processing Systems (TPSs)

Management Information Systems (MISs) เป็นระบบที่เข้าถึง จัดรูปแบบ สรุปผล และ แสดงสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนฟังก์ชันการตัดสินใจในงานที่ทำซ้ำๆในพื้นที่ ต่าง ๆ

Office Automation Systems (OASs): ตัวอย่างเช่น word processing systems ได้ถูก พัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการทำงานในสำนักงานและพนักงานธุรการ

Decision Support Systems: ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่ซับซ้อน มากขึ้น และไม่ใช่เป็นงานที่ต้องทำเป็นประจำ

End- user computing: การใช้หรือพัฒนาระบบสารสนเทศต่าง ๆ โดยอาศัยพื้นฐาน ของผู้ใช้ที่ต้องการได้เอาท์พุทจากระบบ เช่น นักวิเคราะห์ ผู้บริหาร และ ผู้มีความรู้ ความชำนาญต่าง ๆ ช่วงนี้เกิดเมื่อปลายปี 1980 ในยุคของไมโครคอมพิวเตอร์ ระบบการตัดสินใจ (Supporting system) ได้ขยายออกมาเป็นสองทิศทาง คือ
ก) มุ่งตรงไปยังผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System) และผู้บริหารทั่วไป (Enterprisewide information system)
ข) กลุ่มคนทำงาน (Group support system)

Intelligent Support System (ISSs): ประกอบด้วยระบบผู้ชำนาญการ(expert systems) ซึ่งจัดเก็บองค์ความรู้ของผู้ชำนาญการเอาไว้ เพื่อให้ผู้ที่ยังไม่เก่งทำการศึกษาระบบผู้ชำนาญ การรุ่นใหม่ๆ จะรวมเอาความสามารถในการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine - learning) เอาไว้ด้วยทำให้มันสามารถเรียนรู้ได้จากกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต

Knowledge Management Systems:ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
- การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร
- การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
- การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
- การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
- การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
- การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
- การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

Data Warehousing: คำว่า data warehouse หนึ่งๆ จะหมายถึง ฐานข้อมูลที่ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนระบบ DSS, ESS และ กิจกรรมการวิเคราะห์และผู้ใช้งานขั้นสุดท้าย

Mobile Computing: ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนลูกจ้างที่ทำงานร่วมกับลูกค้าหรือ พันธมิตรทางธุรกิจภายนอกอาณาบริเวณของบริษัท ให้สามารถทำงานผ่านทางข่าย สาย(wire line network) หรือไร้สาย (wireless network)

ที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาเพื่อสนับการใช้งานภายในองค์กร มาหลายสิ่งที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับภายนอกองค์กร

Electronic Data Interchange (EDI) เพื่อให้คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ของพันธมิตรทางธุรกิจ สื่อสารกันโดยตรงผ่านเอกสารทางธุกิจแบบมาตรฐาน ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นพื้นฐานของการตลาดอิเลคทรอนิคส์ (Electronic market) และพัฒนาต่อมา เป็น e-commerce

Customer Relationship Management (CRM) พัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนลูกค้า

Web-based system พัฒนาขึ้นมาเมื่อกลางปี 1990 และมาแรงเอาในปี 2000 Web-based หมายถึงการทำงานผ่านทางโปรแกรม Browser ซึ่งอาศัยการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ต หมายความว่า เพียงแค่เรามีโปรแกรม Browser ไม่ว่าจะเป็น Internet Explorer, FireFox, Safari, Opera หรือแม้กระทั่ง Google Chrome ก็ตาม เราก็สามารถใช้งานโปรแกรม หรือ Applications ใดๆ ก็ได้ โดยโปรแกรมหรือ Applications เหล่านั้น จะติดตั้งบน Server แห่งใดแห่งหนึ่ง หรืออาจติดตั้งในสำนักงานใหญ่ของเรา

Integrated Support Systems
จากระบบที่เป็นอิสระจากกัน (stand alone) ก็เริ่มมีการผนวกรวมระบบสนับสนุนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น การรวมกันของ DSS-ESS