วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

การจัดแบ่งและวิวัฒนาการของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ โดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองแบบคือ:
1) แบ่งโดยอาศัยระดับในองค์กร (organizational level)
2) แบ่งโดยอาศัยจุดมุ่งหมายในการให้การสนับสนุน (support provided)

1) แบ่งโดยอาศัยระดับในองค์กร
การจัดระบบสารสนเทศแบบนี้ เป็นจัดโดยมุ่งเน้นไปที่รูปแบบการใช้งานให้สอดคล้องกับโครงสร้างขององค์กรแบบเรียงลำดับชั้น จุดมุ่งหมายเพื่อให้การสนับสนุนการทำ งาน สามารถแยกออกได้เป็นสามแบบ คือ functional (departmental) , enterprisewide และ interorganizational
ก) Functional information systems คือการจัดรูปแบบให้สอดคล้องกับฟังก์ชันการทำงานของแผนก(department)ที่ใช้กันทั่วๆไป หรือ เรียกว่า Departmental IS
ข) Enterprise information systems จัดรูปแบบเพื่อรองรับหลาย ๆ แผนก หรือ ทั่วทั้งองค์กร หรือ เรียกว่า Enterprisewide Information System (EIS) (เป็นการเชื่อมหลาย ๆ แผนกเข้า ด้วยกัน แต่ยังถือว่าอยู่ในภูมิศาสตร์เดียวกัน) เช่นระบบ ERP
ค) Inter-organizational systems คือการเชื่อมต่อสององค์กรหรือมากกว่าเข้า ด้วยกัน หรือเรียกว่า Inter-Organizational IS (IOS)

An information system (IS) can span departments, business units and corporations.
Departmental IS
Enterprise-Wide IS
Inter-Organizational IS

Information systems are usually connected by means of electronic networks

IS ที่สนับสนุนการทำงานของแต่ละแผนก(department)ในองค์กรหนึ่ง ๆ(corporation) เช่น
Operations
Accounting
Finance
Marketing
Human resources

Transaction Processing Systems (TPS): Automates routine and repetitive tasks that are critical to the operation of the organization

Information Systems: Concepts and Definitions

ระบบสารสนเทศ (Information System;IS): หมายถึงกระบวนการหนึ่ง ๆ ที่รวบรวม ข้อมูล นำมาประมวลผล จัดเก็บในรูปแบบต่าง ๆ แล้วทำการวิเคราะห์ และ เผยแพร่ สารสนเทศที่ได้ออกไปเพื่อวัตถุประสงค์ที่จำเพาะเจาะจง (specific purpose)

Computer Based Information System (CBIS): หมายถึงระบบสารสนเทศหนึ่ง ๆ ซึ่ง ใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดการกับงานที่ต้องการบางอย่าง หรือ ทั้งหมด

องค์ประกอบหลัก ๆ ของ IS ได้แก่
Hardware
Software
Database
Network
Procedure
People


Application Program
โปรแกรมประยุกต์ (Application Program) หมายถึงโปรแกรมหนึ่ง ๆ ที่ออกแบบมา เพื่อสนับสนุนงาน ๆ หนึ่งที่กำหนดขึ้นมา หรือ สนับสนุนกระบวนทางธุรกิจ กระบวนการหนึ่ง หรือ สนับสนุนโปรแกรมประยุกต์โปรแกรมอื่น ๆ ตามที่ออกแบบ
เมื่อทำการรวบรวมโปแกรมประยุกต์ต่าง ๆ เอาไว้ทีแผนกหนึ่ง มักจะพิจารณาแผนก นี้ว่าเป็น departmental information system เช่น เป็นแผนกที่รวบรวมโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคล (Human resources) ก็เรียกว่า Human resources information system (HRIS)

ระบบสารสนเทศเป็นการเชื่อมระบบโดยนัยของโครงข่ายอิเลคทรอนิคส์ (electronic networks) ซึ่งอาจอยู่ในรูปของาการใช้สาย (wireline) หรือ ไร้สาย (wireless) ก็ได้

Enterprisewide information system (EIS)

ถ้าทั้งบริษัทถูกเชื่อมต่อด้วยเน็ตเวิร์ค และ พนักงานสื่อสารกันและกันผ่านเน็ตเวิร์คและเข้าถึงสารสนเทศได้ทั่วทั้งองค์กร เรียกว่า Enterprisewide information system

ส่วนคำว่า Interorganizational information system จะหมายถึง ระบบสารสนเทศที่วิ่งอยู่ระหว่างองค์กรสององค์กรหรือมากกว่า แต่ยังคงเป็นบริษัทเดียวกัน

ระบบสารสนเทศถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับเป้าหมายหลายอย่าง หนึ่งในเป้าหมายหลักก็คือ จัดการกับข้อมูลให้อยู่ในรูปของสารสนเทศ หรือ องค์ความรู้ เราลองมานิยามความหมายของ ข้อมูล(data) สารสนเทศ(information) และ องค์ความรู้ (know- ledge)กันก่อน

Data, Information, and Knowledge
ความหมายของ Data / Information และ Knowledge
Data items หมายถึง องค์ประกอบรูปแบบหนึ่งที่ใช้อธิบายถึง สิ่งของต่างๆ หรือ เหตุ การณ์ต่าง ๆ หรือ การกระทำต่าง ๆ หรือ การทำธุรกรรมที่ถูกบันทึกไว้ อาจถูกแบ่งชั้นและเก็บไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำการจัดแบ่งให้เป็นส่วน ๆ เพื่อให้บรรลุถึง ความหมายที่ต้องการ

Information หมายถึง ข้อมูลที่ถูกจัดแบ่งแล้ว ซึ่งจะมีความหมายและมีมูลค่าต่อผู้รับ

Knowledge หมายถึง ข้อมูล และ/หรือ สารสนเทศที่ผ่านการจัดรูปแบบและถูกประ มวล อันแสดงถึง ความเข้าใจ ประสบการณ์ การเรียนรู้แบบสะสมมา และ ความ ชำนาญเป็นพิเศษ เพื่อให้เรานำเอามาใช้แก้ปัญหาหรือการกระทำในปัจจุบัน ตอนนี้ KM กำลังมาแรง

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า จุดมุ่งหมายหลักของระบบสารสนเทศคือ การรวบรวมข้อมูล
ต่างๆ แล้วนำมาประมวล(กลั่น)ออกมาเป็นสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้เป็นองค์ความรู้เฉพาะด้าน